Master Degree

นักบริหารความเสี่ยง อาชีพแห่งอนาคต โดย ศรายุทธ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์

     ทำไมทุกองค์กรต้องมีหน้าที่ นักบริหารความเสี่ยง (Risk management) งานด้านบริหารความเสี่ยง เรามีหน้าที่จัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident)



     แต่เดี๋ยวก่อน! ทราบหรือไม่ว่าถ้านักบริหารความเสี่ยงมีความรู้ทางด้านไอที สามารถพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาได้เองประกอบกับองค์ความรู้วิชาชีพที่ตนเองมี อาจจะทำให้อาชีพ นักบริหาความเสี่ยง ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เหมือน พี่ศรายุทธ สุธีโร นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตทำอาชีพนักบริหารความเสี่ยง ใช้แต่โปรแกรม Microsoft excel จนเกิดไอเดียอยากมีความรู้ทางด้านไอที เพื่อเราจะได้เขียนโปรแกรมขึ้นมารองรับงานที่เราทำในรูปแบบที่ง่ายกว่าเดิม  



 
ทำไมถึงเลือกเรียน ป.โท ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     ก่อนหน้านี้ ผมทำงานด้านบริหารความเสี่ยง โปรแกรมที่ใช้ทำงานส่วนใหญ่คือ Microsoft excel ซึ่งโดยทั่วไปก็สามารถใช้คำนวณข้อมูลต่างๆได้ดี แต่ก็พบว่างานบางอย่างยังมีความยุ่งยากอยู่ จึงไปปรึกษาเพื่อนแผนกไอที เค้าก็พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาให้ใช้ ซึ่งมันดีมาก จากที่ต้องทำงานเป็นวันก็สามารถทำงานเสร็จได้เพียงไม่กี่นาทีก็เลยประทับใจ และเป็นแรงบันดาลใจใจให้อยากเรียนการเขียนโปรแกรม



 
ทำไมต้องเลือกเรียน ป.โท ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     ความจริงสนใจสมัครที่อื่น แต่ที่อื่นนั้น ส่วนใหญ่จะต้องเรียนปริญญาตรีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มาก่อน จึงจะมีสิทธิเรียนปริญญาโทด้านวิทยากรคอมพิวเตอร์ได้ แต่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ได้บังคับ แต่มีให้สอบวิชาพื้นฐาน และหลังสอบแล้วก็มีการสอนปรับพื้นฐานอีกด้วย

     โดยภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านการเขียนโปรแกรมหรือสายงานที่เกี่ยวข้องกับไอที สามารถนําความรู้ความชํานาญงานไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ออกแบบและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงศึกษาค้นคว้าวิจัยองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมพัฒนาทักษะในการส่ังสม เสาะแสวงหา และพัฒนา ยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่นการอบรมเทคโนโลยีใหม่นอกเหนือจากรายวิชา การศึกษาดูงานบริษัททางด้านไอที เพื่อสร้างเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของผู้เรียนให้พร้อมที่จะออกไปปฏิบัติงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพได้ทันที หลักสูตรปริญญาโทได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ และสอดคล้องกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งทางโครงการได้เตรียมพร้อมในเรื่องของรายวิชาที่หลากหลายเพื่อให้นิสิตทุกคนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองต้องการนำไปใช้กับจุดประสงค์ของตัวเอง


 
 สามารถนำความรู้ไปต่อยอดในสายอาชีพอะไรได้บ้าง

    - โปรแกรมเมอร์ (Programmer/Developer)
    - วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
    - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
    - นักทดสอบและรับรองคุณภาพซอฟต์แวร์ (Tester)
    - ผู้จัดการโปรเจค (Project Manager)
    - ผู้พัฒนาและดูแลเว็บไซต์ (Web Developer/Web Master)
    - ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (System Administrator)
    - ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Administrator)
    - ผู้ประกอบการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ (IT Entrepreneur)
    - นักวิชาการทางคอมพิวเตอร์ ครู อาจารย์ (Teacher/Lecturer)




ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

     - ​M.S. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Ph.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ...

Ph.D (Communication Arts) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2514 ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ก่อตั้ง ...

Ph.D. (Logistics and Supply Chain Management) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยบูรพา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ...