สอบเข้ามหาวิทยาลัย

7 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับจาก 200 มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย

          เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกอย่าง Quacquarelli Symonds (QS) ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย (QS University Rankings: Asia 2016) ออกมา โดยมี 13 มหาวิทยาลัยของไทย ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย จาก 350 มหาวิทยาลัย (รายละเอียด คลิ๊ก)

 

           ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2559 Times Higher Education (THE) สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษอีกเจ้า ก็ได้ประกาศอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย (Times Higher Education Asia University Rankings 2016) เช่นกัน การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชียในปีที่ผ่านมาของ Times Higher Education ประกอบไปด้วย 100 มหาวิทยาลัย และมี 14 ประเทศที่ติดอันดับ ซึ่งในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 200 มหาวิทยาลัย และมี 22 ประเทศที่ติดอันดับ


           โดยใน 200 มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย มีมหาวิทยาลัยจากไทยติดอยู่ 7 อันดับ จากบทความของ THE ที่กล่าวว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของตัวแทนประเทศที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากที่สุดถึง 7 มหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตามอันดับที่ดีที่สุดในภูมิภาคที่นอกเหนือจากสิงคโปร์แล้ว ก็คือ Universiti Teknolog ของมาเลเซียที่อยู่ในอันดับที่ 70

UploadImage


อันดับมหาวิทยาลัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน 200 อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย

 

อันดับ 1 : National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์

อันดับ 2 : Nanyang Technological University (NTU) ประเทศสิงคโปร์

อันดับ 3 : Universiti Teknologi Malaysia ประเทศมาเลเซีย

อันดับ 4 : มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย

อันดับ 5 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประเทศไทย

อันดับ 6 : Universiti Putra Malaysia ประเทศมาเลเซีย

อันดับ 7 ร่วม : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ประเทศไทย

อันดับ 7 ร่วม : Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย

อันดับ 9 : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

อันดับ 10 ร่วม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประเทศไทย

อันดับ 10 ร่วม : Universiti Kebangsaan Malaysia ประเทศมาเลเซีย

อันดับ 12 ร่วม : University of Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย

อันดับ 12 ร่วม : มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

อันดับ 12 ร่วม : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเทศไทย

UploadImageขอบคุณภาพจาก www.timeshighereducation.com


ในปีนี้มีมหาวิทยาลัย จาก 22 ประเทศ ที่ติดใน 200 อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย ได้แก่ 

จีน (39 มหาวิทยาลัย)            ญี่ปุ่น (39 มหาวิทยาลัย)          เกาหลีใต้ (24 มหาวิทยาลัย)      ไต้หวัน (24 มหาวิทยาลัย)    
อินเดีย (16 มหาวิทยาลัย)      ตุรกี (11 มหาวิทยาลัย)            อิหร่าน (8 มหาวิทยาลัย)            ไทย (7 มหาวิทยาลัย)              
ฮ่องกง (6 มหาวิทยาลัย)        อิสราเอล (6 มหาวิทยาลัย)       มาเลเซีย (4 มหาวิทยาลัย)         ซาอุดิอาระเบีย (2 มหาวิทยาลัย) 
จอร์แดน (2 มหาวิทยาลัย)      ปากีสถาน (2 มหาวิทยาลัย)     สิงคโปร์ (2 มหาวิทยาลัย)           สหรัฐอาหรับเอมิเรต (2 มหาวิทยาลัย) 
สิงคโปร์ (2 มหาวิทยาลัย)      บังคลาเทศ (1 มหาวิทยาลัย)    อินโดนีเซีย (1 มหาวิทยาลัย)      เลบานอน (1 มหาวิทยาลัย)  
โอมาน (1 มหาวิทยาลัย)        กาตาร์ (1 มหาวิทยาลัย)          มาเก๊า (1 มหาวิทยาลัย)


UploadImage
โดยมี 10 อับดับแรก คือ
 

อันดับ 1 : National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงค์โปร์ 

อันดับ 2 ร่วม : Nanyang Technological University (NTU) ประเทศสิงคโปร์

อันดับ 2 ร่วม : Peking University ประเทศจีน

อันดับ 4 : The University of Hong Kong  ฮ่องกง (ประเทศจีน)

อันดับ 5 : Tsinghua University ประเทศจีน

อันดับ 6 : Hong Kong University of Science and Technology ฮ่องกง (ประเทศจีน)

อันดับ 7 : University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น 

อันดับ 8 : Pohang University of Science and Technology ประเทศเกาหลีใต้

อันดับ 9 : Seoul National University ประเทศเกาหลีใต้

อันดับ 10 : Korea Advanced Institute of Science and Technology (KAIST) ประเทศเกาหลีใต้

UploadImage
 

          ตัวชี้วัดต่างๆ ของ The Times Higher Education World University Rankings ที่ใช้ในการจัดอันดับ Times Higher Education Asia University Rankings 2016 ประกอบด้วย 5 ด้าน 13 ตัวชี้วัด คล้ายคลึงกับปีที่ผ่านมา แต่มีการปรับ % ค่าน้ำหนักต่างออกไป ดังนี้

1. Teaching: The learning environment (25%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 

            - Reputation survey : 10%

            - Staff-to-student ratio : 4.5%

            - Doctorate-to-bachelor’s ratio : 2.25%

            - Doctorates awarded to academic staff ratio : 6%

            - Institutional income : 2.25%

2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย

            - Reputation survey : 15%  

            - Research income : 7.5%

            - Research productivity : 7.5%

3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง

4. International outlook: Staff, students and research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ 

            - International-to-domestic-student ratio : 2.5%

            - International-to-domestic-staff ratio : 2.5%

            – International collaboration : 2.5%

5. Industry income: knowledge transfer (7.5%) ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยภาคอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการให้คำปรึกษา วัดจาก รายได้ทางอุตสาหกรรมจากงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น