สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เจาะลึกอาชีพ "แพทย์ฉุกเฉิน" กับ หมอเจี๊ยบ ลลนา ก้องธรนินทร์

เจาะลึกอาชีพในครั้งนี้ พี่จ๋า AdmissionPremium จะพาไปทำความรู้จักกับ สาขาอาชีพแพทย์ แต่เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จากบทสัมภาษณ์ของ เจี๊ยบ - ลลนา  ที่อาจจะเป็นขวัญใจของน้องๆอยู่หลายคน  มาเริ่มทำความรู้จักกันไปด้วยกับพี่เลยค่ะ 

คุณหมอนางสาวไทย คือหนึ่งในคำอธิบายความเป็นเจี๊ยบ -ลลนา ก้องธรนินทร์ นักศึกษาแทพย์ผู้คว้ามงกุฏนางสาวไทยประจำปี้ 2549 มาครอง  นับแต่นั้นเราก็เก็นเจี๊ยบ-ลลนา ผ่านหน้าจอทีวีทั้งในบทบาทของนัแสดง พิธีกร นางแบบ ถึงวันนี้เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ที่เธอใช้ชีวิตในวงการบันเทิง ขณะเดียวกันก็เป็นคุณหมอด้วย ซึ่งอีกไม่นานเธอจะเรียนจบแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาขาที่ทำให้มุมมองชีวิตเธอเปลี่ยนไป 
 
UploadImage


+ ทราบว่าวันนี้หลัวจากลงเวรก็มาถ่ายแบบกับขวัญเรือนต่อเลย 
        ใช่ค่ะ คือเจี้ยบเป็นหมอฉุกเฉิน เรียนด้านเวชศาสาตร์ฉุกเฉิน ตอนนี้อยู่ปี 3 เป็นปีสุดท้ายแล้ว ทำงานเป็นกะ  อยู่เวรในห้องฉุกเฉิน เวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เหมือนหมอ พยาบาลทั่วไป สมมุติลงเวรดึกมาซึ่งเป็นเวรที่ทำงานเที่ยงคืนถึงเช้า ก็มาทำงวานข้างนอกต่อได้ 

+ ค่อนข้างอึดเหมือนกัน
         เราโดนฝึกมาแล้ว หมอทุกคนคงเป็นอย่างนี้แหละ เป็นมนุษย์ที่ถูกฝึกมาแล้วให้มีความถึกและอึด

+  ตัดสินใจเลือกเรียนต่อแพทย์ฉุกเฉินตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์เลยหรือเปล่าคะ 
         ตอนแรกไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นหมอด้านอะไร จนวันหนึ่งรู้สึกว่าอยากรักษาคนไข้แบบทำได้ดีมากขึ้น และพอดีได้ไปทำงานที่โรงพยาบาลนพรัตน์อยู่พักหนึ่ง  ไปทำงานที่ห้องฉุกเฉิน  เรารู้สึกว่ามันใช่ พอทำแล้วรู้สึกมีความสุข ได้เจอเคสหลากหลาย ได้เจออะไรหลายอย่าง เจอใครเป็นอะไรสามารถวิ่งเข้าไปช่วยเขาได้เลยในภาวะฉุกเฉิน  แล้วพอเข้ามาเรียนก็พบเหสน่ห์ของแพทย์ฉุกเฉิน เพราะเขาไม่ได้สอนให้เรารักษาเป็นอย่างเดียวยังสอนให้จัดการสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ได้ การคัดกรองคนไข้ก็ต่างกัน สมมุติอยู่โรงพยาบาลเราต้องดูคนไข้ที่อาการหนักใกล้เสียชีวิตให้ดีที่สุดก่อน แต่สมมุติไปอยู่ที่สถานการร์เกิดภัยพิบัติเยอะมาก ก็ต้องเลือกคนที่มีโอกาสรอดมากที่สุด แนวคิดจะเปลี่ยน
 
UploadImage

+ ลักษณะของการเป็นแพทย์ฉุกเฉินเข้ากับนิสัยตัวเองด้วยใช่ไหม 
          ใช่ เพราะเจี๊ยบเป็นคนที่ชอบเดินไปเดินมา อยู่นิ่งไม่ได้ ไม่ชอบอะไรจำเจ ไม่ว่าใครจะเป็นอะไรที่ภาวะฉุกเฉินจะมาหาเราหมด เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ได้จำกัดอยู่ว่าต้องรักษาโรคนี้อย่างเดียว เจอเด็กบ้าง เจอคนท้องบ้าง คนแก่ คนกระดูกหัก ฯลฯ ในภาวะฉุกเฉินก็มาหาเรา จากนั้นจึงส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางตามอาการที่เขาเป็น

+ ในสายงานแพทย์ฉุกเฉินมี คุณหมอผู้หญิงเยอะไหมคะ
          เยอะค่ะ อย่างรุ่นเจี๊ยบมีเรียน 13 คน ผู้ชาย 2 คนเอง นอกนั้นผู้หญิงหมดเลย ผู้หญิ่งเดี๋ยวนี้อึด และเก่งมากขึ้น ไม่ได้ว่าฉันต้องเรียนแต่เรื่องสวย ๆ งาม ๆ 

+ งานแพทย์ฉุกเฉินบางทีต้องนั่งไปกับรถฉุกเฉินด้วย
          เจี๊ยบขึ้นมาหลายครั้งแล้ว ทำมาเป็นปีแล้วค่ะ เป็นความรู้สึกท้าทายระดับหนึ่งเพราะการที่เราออกไปที่เกิดเหตุ บางทีไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เขาโทร.มาตอนแรกอาจบอกว่าคนไข้หมดสติค่ะ พอไปถึงคนไข้ไม่ได้หมดสติ แต่กลายเป็นไม่หายใจ หัวใจไม่เต้น เราก็ต้อฃใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพราะอุปกรณ์การแพทย์ไมได้มีครบครันเหมือนอยู่ดรงพยาบาล มีแค่เรากับทีมเรา ต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม แบ่งหน้าที่ให้ได้ด้วย บางที่อยู่ตรงนั้น ประวัติคนไข้อาจไม่ได้เต็มร้อย เราต้องจัดการเบื้องต้นยังไงให้ได้ก่อน เจอเคสคนไข้หัวใจไม่เต้น ไม่มีใครสามารถให้ประวัติได้เลยว่าเขาเป็นอะไรมาก่อน เราต้องพยายามคิดว่า ทำไมถึงหัวใจหยุดเต้น ต้องทำยังไงให้เขาฟื้นกลับมาได้ 
 
UploadImage
 
           
บทความนี้เป็นบทสัมภาษณ์บางส่วนที่พี่คัดลอกมาจาก นิตยสารขวัญเรือน มาให้น้องๆ ได้ทำความเข้าใจในลักษะงานสาขาอาชีพแพทย์ฉุกเฉินกันนะคะ 

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นสาขาใหม่ เป็นที่กำลังนิยม เปิดหลักสูตรมาได้สัก 10 กว่าปี ER หรือ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน จริงๆ คือ Emergency medicine หรือ EM มากกว่า ตอนนี้เป็น Board ที่อยู่ในสังกัดของ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ มีสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  โดยมีระยะเวลาที่เรียน คือ 3 ปี

โรงเรียนแพทย์ที่เปิดมีมากเลยค่ะ  เพราะ เวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นสาขาขาดแคลนระดับ 1 ทั้งนี้เนื่องมาจากภาครัฐเล็งเหตุถึงความจำเป็นของการมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency physician : EP) มากขึ้น และต้องการเร่งผลิตให้มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆทั้งในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ 


กรุงเทพ
- โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
- โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยลัยมหิดล
- โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลับมหิดล
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โรงพยาบาลเลิดสิน 
- โรงพยาบาลนพรัตน์ฯ 
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล 
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 

ภาคเหนือ : โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ภาคอีสาน 
- โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ภาคใต้ 
- โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
- โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ 

ภาคตะวันออก : โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี 


ถ้าน้องๆ สนใจอยากเรียนแพทย์ฉุกเฉิน น้องต้องเรียนแพทย์ทั่วไปให้จบก่อนนะคะ และก็มาเลือกเรียนแพทย์เฉพาะทางอีกที การทำงานที่เป็นแพทย์ พยาบาลนั้นเป็นวิชาชีพที่ใกล้ชิดกับการเกิดแก่เจ็บตาย ยิ่งเป็นแพทย์ฉุกเฉินน่าจะได้เห็นความจริงของชีวิตมากกว่าใคร และเป็นอาชีพที่ช่วยคนได้มากจริงๆ และเป็นอาชีพที่ต้องรักษาชีวิตคนให้ได้ก่อนในเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางนั้นๆอีกที อาชีพนี้ดูน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวนะคะ น้องๆเห็นด้วยไหมคะ 


ขอขอบคุณ : นิตยสารขวัญเรือน