สอบเข้ามหาวิทยาลัย

“วิศวะ มทร.ธัญบุรี” จัดใหญ่! เสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ

เพราะการลงมือฝึกปฏิบัติ ทำให้เกิดเกิดการเรียนรู้และเข้าใจโลกของการทำงานได้เร็วขึ้น
UploadImage

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จึงจัดโครงการฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเพื่อสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ ประจำปีการศึกษา 2557 ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา

รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าถึงที่มาของโครงการดังกล่าวว่า จากการสอบถามข้อมูลภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการเกี่ยวกับบัณฑิต พบว่าส่วนใหญ่ต้องการบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทันที มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดีและมีทักษะเชิงปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทางมหาวิทยาลัยที่เน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ

“แต่จากการสำรวจข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา กลับพบว่านักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เข้าศึกษาต่อในชั้นปีที่ 1 จากระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีพื้นฐานทักษะวิชาชีพเชิงปฏิบัติค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะนักศึกษาที่จบจากชั้นม.6 ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ในชั้นปีถัดไป จึงกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2 ใช้เวลาในช่วงปิดภาคฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป ต้องเรียนเพิ่มเติมในวิชาพื้นฐานอาชีพนี้ ซึ่งสอนโดยคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากทั้งหมด 10 ภาควิชา ตัวอย่างวิชาที่สอนคือ การต่อวงจรไฟฟ้า การตรวจสอบการขัดข้องของอุปกรณ์ไฟฟ้า การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน การเชื่อมอาร์ค การกลึง การพิมพ์ซิลค์สกรีน ระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พลังงานไฟฟ้าเคมี กระบวนการฉีดขึ้นรูปพลาสติก เป็นต้น”

เพราะการลงมือฝึกปฏิบัติ ทำให้เกิดเกิดการเรียนรู้และเข้าใจโลกของการทำงานได้เร็วขึ้น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จึงจัดโครงการฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเพื่อสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ ประจำปีการศึกษา 2557 ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา

รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าถึงที่มาของโครงการดังกล่าวว่า จากการสอบถามข้อมูลภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการเกี่ยวกับบัณฑิต พบว่าส่วนใหญ่ต้องการบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ทันที มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดีและมีทักษะเชิงปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทางมหาวิทยาลัยที่เน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ

“แต่จากการสำรวจข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา กลับพบว่านักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เข้าศึกษาต่อในชั้นปีที่ 1 จากระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีพื้นฐานทักษะวิชาชีพเชิงปฏิบัติค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะนักศึกษาที่จบจากชั้นม.6 ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ในชั้นปีถัดไป จึงกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2 ใช้เวลาในช่วงปิดภาคฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป ต้องเรียนเพิ่มเติมในวิชาพื้นฐานอาชีพนี้ ซึ่งสอนโดยคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากทั้งหมด 10 ภาควิชา ตัวอย่างวิชาที่สอนคือ การต่อวงจรไฟฟ้า การตรวจสอบการขัดข้องของอุปกรณ์ไฟฟ้า การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน การเชื่อมอาร์ค การกลึง การพิมพ์ซิลค์สกรีน ระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พลังงานไฟฟ้าเคมี กระบวนการฉีดขึ้นรูปพลาสติก เป็นต้น”

เริ่มต้นจาก “ฟลุ๊ก” นายณัฐวัชร เทียนทอง ที่เผยว่า “ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมนี้ นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น การต่อวงจรไฟฟ้า การเชื่อมเหล็ก การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เครื่องปรับอากาศ แม้จะมีความรู้มาบ้างแล้ว แต่การเข้าเรียนเพิ่มจากโครงการนี้ ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการดูแลซ่อมแซม อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือภายในบ้านได้ และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกภาควิชาเรียนได้ และเห็นว่าการเรียนรู้ทางทักษะพื้นฐานอาชีพวิศวกรนี้ จำเป็นต้องลงมือปฏิบัติจริง ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎีและดูภาพ หรือคลิปวิดิโอตัวอย่างในชั้นเรียน” 

เช่นเดียวกันกับ “ฝ้าย”  นางสาวทอแสง ราตรี ที่แสดงความคิดเห็นว่า “เป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งกับนักศึกษาที่กำลังจะตัดสินใจเลือกภาควิชาเรียน ช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์อย่างเต็มที่ รวมถึงสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในรายวิชาอื่น ๆ เพิ่มเติม การเรียนการสอนจากอาจารย์ทั้งหมด 10 ภาควิชา ก็เข้าใจง่าย ได้เห็นจริงและทำจริง ได้รู้จักเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และตั้งเป้าหมายเลือกเรียนวิศวกรรมโยธา เรื่องราวทั้งหมดนี้ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีสำหรับต่อยอดเป็นวิศกรต่อไปในอนาคต”

ขณะที่ “น้ำ” นางสาวศศิวิภา นามพันธ์ มองลึกไปไกลกว่านั้นว่า “นอกจากได้ฝึกทักษะทางวิชาชีพเชิงปฏิบัติการแล้ว ยังช่วยให้เกิดการยอมรับในความเป็นวิศวกรหญิงมากยิ่งขึ้น ที่ได้เรียนทฤษฎี ได้ฝึก ได้ทดลองทำของจริง ผลงานที่ออกมาเป็นรูปธรรมก็เป็นตัวชี้วัดในความสามารถได้ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการประกอบอาชีพต่อไป โดยส่วนตัวมองว่าความสามารถของผู้ชายและผู้หญิง ไม่ได้แตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือ หัวใจ ความตั้งใจ และความมุ่งมั่นในการเรียน ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคือตัวเลือกอันดับหนึ่งที่มองไว้”

ปิดท้ายด้วย “แฮม” นายวิวัศพล เลิศวรสิริกุล ที่ชื่นชอบและหลงใหลในเรื่องราวของคอมพิวเตอร์ และเห็นว่าเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน จึงสนใจที่จะเลือกเรียนภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ มทร.ธัญบุรี “โดยพื้นฐานชอบระบบและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในชีวิตประจำวันอยู่กับเทคโนโลยีตลอดเวลา จึงอยากที่จะพัฒนาและต่อยอดคอมพิวเตอร์ให้เป็นมากกว่าคอมพิวเตอร์ ตลอดเวลาของการฝึกทักษะพื้นฐานนี้ ได้ลองทำอะไรที่ใหม่และไม่เคยทำ เช่น การก่อกำแพงอิฐ ซึ่งต้องก่อให้ตรงตามแบบ และใช้ปูนซีเมนต์ผสมสำหรับงานก่อ เป็นตัวประสาน ทั้งยังได้ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกความสามัคคี ความอดทน และนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านวิศวกรรมต่อไป”

ความน่าสนใจของโครงการ “ฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเพื่อสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ” อยู่ที่โอกาส เพราะโอกาสเป็นของคนที่พร้อมเสมอ ซึ่งวันนี้ มทร.ธัญบุรีได้หยิบยื่นโอกาสให้กับเหล่านักศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดการทำงานในอนาคต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.news.rmutt.ac.th/archives/45512