สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เสน่ห์ที่หลากหลาย ประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง


“เทศกาลสงกรานต์” แม้จะเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่หลายประเทศในเอเชียมีลักษณะร่วมคล้ายกัน แต่ประเพณีหรือเทศกาลสงกรานต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสายตาชาวโลก ก็คือ สงกรานต์ของประเทศไทย ซึ่งประเพณีสงกรานต์ของไทยมักจะติด อันดับ 1 ใน 10 เป็นเทศกาลที่ต้องไปเยือนซักครั้งในเอเชีย จากโพลการสำรวจของต่างประเทศอยู่เสมอๆ

หลังจากที่เรานำเสนอกิจกรรมในวันสงกรานต์ของแต่ละภาคไปเรียบร้อย ทั้ง เหนือ อีสาน ใต้ และตอนนี้ก็มาถึง ประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง กันบ้าง จะมีเรื่องราวน่าสนใจแค่ไหน ตามเรามาดูได้เลยจ้าาาาา

UploadImage
1. วันสงกรานต์ของภาคกลาง จะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 -15 เมษายน ทั้ง 3 วันนี้ ชาวภาคกลางส่วนใหญ่จะประกอบพิธีทางศาสนาคล้ายภาคอื่นๆ

2. ประเพณีสงกรานต์ภาคกลางจะมีกิจกรรมการทำบุญและพิธีทางความเชื่อคล้ายกับภาคอื่นๆ คือ การทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษ การทำความสะอาดบ้านเรือน เครื่องใช้ ที่บูชาพระ และที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ เพื่อให้สิ่งสกปรกหมดไปพร้อมกับปีเก่า

3. นอกจากกิจกรรมข้างต้นก็มี การสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน เล่นสะบ้า การจัดประกวดเทพีสงกรานต์ ขบวนแห่นางสงกรานต์ การขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย

UploadImage
4. ก่อนวันสงกรานต์ 1 วัน เรียกว่า “วันสุกดิบ” เป็นวันที่ชางบ้านจะเตรียมอาหารคาวหวานไปทำบุญตักบาตรและถวายพระที่วัด

5. อาหารหรือขนมที่ขึ้นชื่อและชาวภาคกลางนิยมทำในเทศกาลนี้ ได้แก่ ข้าวแช่ ข้าวเหนียวแดง กาละแม ลอดช่อง

6. “ประเพณีวันไหล” คือ วันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเล แต่เดิมเรียกว่า ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล วัดไหนที่อยู่ใกล้แม่น้ำก็จะจัดประเพณีนี้ขึ้น โดยชาวบ้านจะช่วยกันขนทรายตามชายหาดใกล้ๆ เข้าวัด

UploadImage
7. กองทรายที่ชาวบ้านขนเข้าวัด จะก่อเป็นรูปกรวยเล็กๆ จำนวน 84,000 กอง เท่ากับจำนวนพระธรรมขันต์

8. บางตำราบอกว่าใน วันไหล ชาวบ้านจะช่วยกันขุดลอกทรายในห้วยหนองคลองบึงที่ถูกฝนและลมพัดมา แล้วนำทรายนั้นไปก่อเป็นองค์พระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และยังช่วยทำให้คูคลองระบายน้ำได้สะดวกมากขึ้นในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

9. ช่วงเทศกาลสงกรานต์ในบางจังหวัดจะมีพิธีแห่นางแมวขอฝนด้วย

10. ภาคกลางมีสงกรานต์ที่มีชื่อเสียงและเป็นรูปแบบเฉพาะในหลายพื้นที่ เช่น สงกรานต์แบบชาวมอญในงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง งานสงกรานต์ช้างของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสงกรานต์ถนนข้าวสาร

UploadImage


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ :
http://kanchanapisek.or.th
www.tourismthailand-middleeast.org
www.manager.co.th
www.thaifest.org
http://i-san.tourismthailand.org
http://oknation.nationtv.tv
http://library.cmu.ac.th
www.thaifest.org
www.tiewpakklang.com