สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ม.6 ตก O-NET ทุกวิชา เตรียมทหาร เก่งเลข-วิทย์ กว่าสาธิต


ตายอย่างสงบศพสีชมพูกันเลยทีเดียวกับผลสอบ O-NET ถือเป็นความเจ็บปวดที่ลืมไม่ลงกันเลยจริงๆ พลาดแล้วพลาดเลย เพราะมีสิทธิ์สอบแค่ครั้งเดียว แต่คะแนนดันติดตัวไปตลอดชีวิต ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลสอบสำหรับการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2560 ของนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 และได้ทำการประมวลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ปรากฏว่าผลการทดสอบของนักเรียน ม.6 ไม่ถึงครึ่งในทุกวิชา ส่วน ป.6 และ ม.3 วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คะแนนร่วงลงมา...




ผลสอบโอเน็ต นักเรียน ม.6
1. วิชาภาษาไทย มีผู้เข้าสอบ 372,043 คน คะแนนเฉลี่ย 49.25 คะแนน
2. วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าสอบ 372,567 คน คะแนนเฉลี่ย 34.70 คะแนน
3. วิชาภาษาอังกฤษ เข้าสอบ 372,587 คน คะแนนเฉลี่ย 28.31คะแนน
4. วิชาคณิตศาสตร์ เข้าสอบ 372,853 คน คะแนนเฉลี่ย 24.53 คะแนน
5. วิชาวิทยาศาสตร์ เข้าสอบ 372,232 คน คะแนนเฉลี่ย 29.37 คะแนน



โดยภาพรวมผลการทดสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ทุกวิชามีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่ง (เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมาวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเดียวที่ถึงครึ่ง) แต่ในการสอบครั้งนี้คะแนนวิชาภาษาไทยและวิทยาศาสตร์มีคะแนนลดลงเล็กน้อย ส่วนวิชาคณิตศาสตร์และสังคมศึกษาฯ ยังคงมีระดับคะแนนเฉลี่ยเท่าเดิม และผลการสอบวิชาภาษาอังกฤษในทุกโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 

หากแบ่งตามสังกัด โรงเรียนในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) มีคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาเกินครึ่งและสูงที่สุดทุกวิชา รองลงมาเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (โรงเรียนสาธิต), สังกัดกรมยุทธศึกษาทหาร (โรงเรียนเตรียมทหาร), สังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพฯ กับสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา

เมื่อดูโรงเรียนใน 4 สังกัดตามภาพ พบว่า โรงเรียนเตรียมทหารมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงกว่าประเภทโรงเรียนสาธิต 

ส่วนโรงเรียนสังกัด สพฐ. ถือเป็นนักเรียนส่วนมาก ผู้เข้าสอบแต่ละวิชาประมาณ 289,283 คน ได้คะแนนเฉลี่ยทุกวิชาใกล้เคียงกับคะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศ ซึ่งเกินครึ่งวิชาเดียวคือ ภาษาไทย ที่ 53.09 คะแนน

นอกจากนี้หากแบ่งตามภูมิภาค โรงเรียนในพื้นที่ กทม. มีคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาสูงกว่าในภูมิภาคอื่น


ดาวน์โหลดรายละเอียด ไฟล์แนบ


ที่มา : WORKPOINT NEWS