สอบเข้ามหาวิทยาลัย

C + T การเรียนยุคใหม่ ของ #DekBU เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีแบบล้ำๆ


ถ้าจะให้นึกถึงมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นด้าน "ความคิดสร้างสรรค์" ก็ต้องยกให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นหนึ่งในนั้น ดูจากอะไร ? ง่าย ๆ เลยครับ เริ่มจากภายนอกอาคารของตึกในมหาวิทยาลัยที่โดดเด่น ยังไม่รวมกับการปรับ เปลี่ยน พัฒนา และต่อยอดหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตให้พร้อมสำหรับการทำงานในโลกปัจจุบัน
อย่างเช่นการเรียนรูปแบบใหม่ C + T (
Creativity+Technology)  ที่ ม.กรุงเทพ ตั้งใจคิดเพื่อตอบโจทย์การผลิตบัณฑิตในยุคดิจิตอล โดยวันนี้พี่โดมจะขอเล่าในรูปแบบการตูนให้น้อง ๆ เข้าใจง่ายไปพร้อม ๆ กัน

 

​พี่โดมร่วมสัมภาษณ์สุดพิเศษกับ

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


 

พี่โดม Admission Premium : Digital Disruption ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับการเรียนการสอนอย่างไร ?

 

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต : มีคนพูดกันหลากหลายทิศทางมาก มันจะเริ่มมี AI, หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ ส่งผลให้มนุษย์ตกงาน ความต้องการที่จะใช้แรงงานคนก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งมันก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เทคโนโลยีเรามีความก้าวหน้ามาก แม้กระทั่งมือถือของเราเองในปัจจุบันสามารถทำอะไรแทนเราได้เยอะมาก ซึ่งตอนนี้ Facebook เองก็ได้ทำสกุลเงินของมาเป็นของตัวเอง แน่นอนว่าการทำธุรกรรมการเงินมีการเปลี่ยนแปลง แต่จะส่งผลต่อธนาคารต่าง ๆ จนทำให้ธนาคารต้องปรับตัวครั้งใหญ่หรือไม่ 

 

“การก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอล”
ส่งผลให้เครื่องมือ หรือ กลไกในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง

 


 

 

พี่โดม Admission Premium : มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวกับ Digital Disruption อย่างไร ? 

 

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต : มหาวิทยาลัยคงต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ทุกการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เครื่องมือ แต่ส่งผลที่กระบวนการคิดในการทำงานเปลี่ยนแปลงด้วย เพราะฉะนั้นถ้าพื้นฐานเรายังเป็นเหมือนเดิม ก็ไม่สามารถตอบโจทย์การทำงานในโลกปัจจุบันได้ เช่น
นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบเก่า เริ่มมีค่าพลังในการเป็นสื่อการเรียนการสอนได้น้อยลงจากเดิม การปรับสื่อการเรียนการสอนแบบ Interactive ไม่ว่าจะเป็น VR ที่่นักศึกษาทุกคนต้องใช้ แต่ก่อนจะใช้นักศึกษาจะต้องเข้าใจระบบของการทำงานในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถปรับตัวกับการเรียนในรูปแบบใหม่ ๆ ได้


นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ต้องเข้าใจเกี่ยวกับ capital currency (สกุลเงิน) เป็นอย่างไร ไม่ใช่รู้เพียงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร ในยุคนี้ไม่เพียงพอแล้ว เพราะปัจจุบัน capital currency ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงทางด้านบริการทางการเงินอย่างไร
 

“เน้นการสร้างระบบคิดใหม่ เสริมทักษะ เตรียมความพร้อมให้ทำงานได้ในทุกยุค”
พี่โดม Admission Premium

 




พี่โดม Admission Premium : รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ Creativity+Technology คืออะไร นักเรียนทุกคณะต้องเรียนแบบนี้หรือไม่ ? 

 

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต : ต้องบอกก่อนว่ากว่าเราจะมี Technology มันต้องเริ่มจาก Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์  แต่หลายครั้งที่เราเห็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาแต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะฉะนั้นถ้าเราสร้างเด็กบนพื้นฐาน Creativity+Technology เขาจะสามารถคิดเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง 


เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ในหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างง่าย ๆ  Apple ที่เป็นเจ้าแรกที่มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างโทรศัพท์ที่มีปุ่มหน้าหลักแค่ปุ่มเดียว จนทำให้เปลี่ยนโลกของโทรศัพท์ในทุกวันนี้ หรือแม่กระทั่ง Application บนมือถือเราทุกวันนี้ ก็นับเป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด 

 

พี่โดม Admission Premium : นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไร ?

 

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เราเริ่มต้นจากการร่วมมือกับคณาจารย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือบุคคลภายนอกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมกันระดมความคิดในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรได้ 10 ประเด็นใหญ่ในยุคปัจจุบัน

  • Internet of things
  • Blockchain
  • Mobile App
  • UX / UI
  • 5G
  • AR / VR
  • Coding
  • AI
  • Cloud Services
  • Big Data / Data Analytics



 

Step 1 : ในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เรานำ 10 หัวข้อนี้แทรกในการเรียนการสอนของนักศึกษาทุกคณะต้องเรียนรู้  เป็นการเซทระบบคิด ปรับความเข้าใจ สร้างให้เห็นถึงทักษะที่จำเป็นต่อการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ ต้องเริ่มจากการมีกระบวนการคิดอย่างไร นำไปประยุกต์ใช้อย่างไร


Step 2 : หลังจากมีพื้นฐาน ทุกคณะจะนำเอาหัวข้อเด่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรของเขาโดยตรงมาใช้ในการเรียนการสอนแบบเจาะลึก เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ หัวข้อที่มีผลกับเขามากที่สุดคือ blockchain บวกกับอาจารย์ทางภาค ต้องการให้นักศึกษาทราบถึงด้านธุรกรรมการเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกอนาคตและเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เขามีความจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องของ User Experience  หรือ User Interface แบบนี้ก็จะถูกนำมาใช้ได้จริงเพิ่มเติมเข้าไปอีก 

 

หรือแม้กระทั่งเรียนเชฟที่ ม.กรุงเทพ ก็จะต้องรู้เกี่ยวกับการทำ DATA analytics เก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าได้ว่าลูกค้าของเขามีพฤติกรรมอย่างไร นักศึกษาเราจะไม่ใช่เก็บข้อมูลที่ร้านค้าอย่างเดียว แต่สามารถเก็บพฤติกรรมของผู้บริโภคได้บนโลกออนไลน์อีกด้วย 

 



พี่โดม Admission Premium : ศักยภาพของเด็กที่ได้จากการเรียน C+T ดีกว่ามหาวิทยาลัยอื่นอย่างไร

 

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เราออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะกับตัวนักศึกษาเอง โดยเราใส่ใจเรื่องเนื้อหาทางด้านการเรียน การร่วมงานกันของนักศึกษาทั้งในคณะเดียวกัน หรือต้องทำงานร่วมกับเพื่อนต่างคณะ รวมไปถึงการเน้นด้าน Project base learning 

 

Project base learning  ของเราเน้นคือเราเอาผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่นำออกไปใช้ได้จริงเป็นตัวตั้ง ซึ่งหัวข้อ Project นักศึกษาจะเป็นคนเลือกหัวข้อได้เอง อาจารย์มีหน้าที่เป็น Coaching โดยทุก Project จะเน้นความคิดสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการทำงาน จนเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น นักศึกษาสาขาออกแบบ ต้องการทำนิตยสาร แต่นำเทคโนโลยีมาใช้ ทั้ง UX UI หรือ VR เข้ามาช่วยในการทำนิตยสารรูปแบบใหม่ 

 

“นักศึกษา BU นอกจากเรียนในสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ
บนพื้นฐานเทคโนโลยีใหม่ ยังนำไปใช้ประกอบธุรกิจได้จริงในยุคปัจจุบัน”