สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เรียนอย่างไรให้เกิดการจำที่เข้าใจ



หลายครั้งที่การเริ่มต้นการเรียน หลังจากผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่ง เมื่อถึงเวลาต้องนำมาใช้ หรือถึงช่วงสอบ ความเข้าใจสิ่งนั้นกลับหายไปหรือเลือนลางลงเต็มที แม้กระทั่งบางครั้ง เราพยายามจดโน้ตก็แล้ว แต่ก็ยังจำไม่ได้อยู่ดี มีการวิจัยถึงวิธีการจดจำของคน เรียกว่า Learning Pyramid ได้แบ่งสัดส่วนการจำไว้ดังต่อไปนี้
 
จำได้ 90% ของสิ่งที่เรียน เมื่อมีการนำไปสอนต่อหรือใช้ในทันที
จำได้ 75% เมื่อมีการทบทวนในสิ่งที่เรียน
จำได้ 50% เมื่อมีการพูดคุยกันภายในกลุ่ม
จำได้ 30% เมื่อมีการจำลอง
จำได้ 20% จากภาพหรือสื่อวีดีทัศน์
จำได้ 10% จากการอ่าน
จำได้ 5% จากการจด
(ตัวเลขนี้อาจมีการคลาดเคลื่อนตามแต่ละตัวบุคคลและสภานการณ์)

ทำไมการสอนถึงสามารถทำให้เกิดการจำได้ถึง 90% ?

เมื่อเรานำมาบทเรียนมาใช้ในการสอนหรือใช้ต่อหลังจากเรียนมา จะเกิดข้อผิดพลาดหรือจุดบกพร่องขึ้นทันที เมื่อเราเจอปัญหาและข้อผิดพลาดตั้งแต่ต้น จะเกิดการเรียนรู้ตามมาในการแก้ปัญหา และทำให้สมองเริ่มมีสมาธิกับบทเรียนนั้นๆ มากขึ้น
 
หนทางในการแก้ปัญหาตามมา คือการเปิดหนังสืออ่าน ดูวีดีโอ หรือทบทวนอะไรก็ตาม จนกระทั่งเราพบคำตอบในที่สุด และยิ่งเราอ่านย้ำเท่าไรในภาวะที่สมองโฟกัสอยู่นั้น ก็จะเริ่มพบจุดที่เรามองข้ามไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 
แม้ว่าอาจารย์จะอธิบายอะไรก็ตาม ในความเป็นจริง การตีความของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปในหลายทิศทาง ดังนั้นในเนื้อหายังคงมีการตกค้างข้อมูลบางส่วนอยู่อย่างแน่นอน
 

จะทำอย่างไรเพื่อป้องกันการตกหล่นหรือสูญเสียข้อมูลนั้นไป?

การกระทำหลังจากนั้นจะเป็นตัวป้องกันต่อเนื่อง ทั้งการสร้าง mind map การพูดคุย หรือเขียนทบทวนอีกครั้ง แต่ concept ใหญ่คือไม่ใช่แค่ต้องเรียน แต่เป็นการพูดคุย ถก หรือเขียนลงไปหลังจากนั้น
 
กลับมามองภาพรวมทั้งหมดจะสรุปได้ว่า สิ่งที่เราต้องทำไม่ใช่การอ่านหรือฟังอย่างเดียว แต่การเรียนรู้ที่แท้จริงมาจากความผิดพลาด ซึ่งนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ในสภาวะที่สมองเกิดการโฟกัสอย่างต่อเนื่อง และลงเอยด้วย ‘การจดจำ’ ด้วย ‘ความเข้าใจ’ ในที่สุด



อ้างอิงจาก
www.psychotactics.com