สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีดิจิทัล กับธุรกิจสมัยใหม่

 


ถึงนาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลนับเป็นทั้งความท้าทาย และโอกาสใหม่ๆ สำหรับนักธุรกิจ ความต้องการของลูกค้าเองก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย นักธุรกิจรุ่นใหม่จึงต้องปรับตัว เราจึงได้เห็นโมเดลทางธุรกิจและบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในยุค 4.0 ซึ่งหยิบเอาเทคโนโลยี ไอทีรูปแบบต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
 

โอกาสของนักธุรกิจรุ่นใหม่

สถิติการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนมกราคม 2563 บอกเราว่าในแต่ละปีมีธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งถือเป็นทั้งความท้าทายของนักธุรกิจรุ่นใหม่ และโอกาสใหม่ๆ ที่จะเปิดประตูสู่ความสำเร็จ โดยจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ่นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2563 จำนวน 6,942 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 16,256 ล้านบาท


 
มีธุรกิจที่ยังเดินเนินกิจการอยู่ ณ วันที่ 31 มกราคม 2563 ทั่วประเทศจำนวน 751,662 ราย มูลค่าทุน 18.40 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ่นส่วนจำกัด / ห้างหุ่นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 184,996 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.61 บริษัทจำกัด จำนวน 565,408 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.22 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,258 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17


 
ในขณะที่การเติบโตของ Digital Economy ในประเทศไทย ทำให้สตาร์ทอัพไทยยังมีความเป็นไปได้ที่จะเติมโตมากขึ้นในอนาคต มีข้อมูลที่น่าสนใจ จากรายงานการวิจัยในหัวข้อ “e-Conomy SEA 2018: Southeast Asia’s Internet Economy Reaches an Inflection Point” โดยความร่วมมือระหว่าง Google กับ Temasek พบว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะเติบโตขึ้นเป็น 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ในปี 2568 โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงสุด คือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รองลงมา คือ สื่อออนไลน์ (โฆษณา เกม บริการติดตามเพลงและวิดีโอ)
 
 

เทคโนโลยีที่มีผลต่อธุรกิจ

Big Data
Big Data จะมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจหลัก เสริมสร้างรายได้ และลดต้นทุนการดำเนินงาน นอกจากนี้ องค์กรต่างคาดหวังประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของข้อมูล Big Data ที่จะถูกใช้ไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรใน การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อการทำนายผลที่แม่นยำ (Advanced Analytics and Predictive) ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจ การต่อยอดกลยุทธ์ตลาดที่มีประสิทธิภาพ หรือการประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง และมีผลต่อการปรับปรุงรูปแบบสินค้าและบริการที่มีอยู่เดิม ตลอดจนสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่โดนใจลูกค้าจนไม่อาจเปลี่ยนใจไปหาคู่แข่งได้
 
Blockchain
บล็อกเชนถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้าง "ระบบความปลอดภัยที่ดีให้กับฐานข้อมูล" ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจ และทุกอุตสาหกรรม ข้อมูลเหล่านี้จะถูกกระจายการจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อให้เราเข้าถึงบัญชีธุรกรรมของตัวเองผ่านระบบการระบุตัวตนได้โดยไม่จำเป็นต้องมี "ตัวกลาง" มาช่วยจัดการ ดังนั้น การบันทึก ตรวจสอบความซ้ำซ้อน และรับรองกิจกรรมหรือธุรกรรมว่าเกิดขึ้นจริง จึงสามารถทำได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยสูง


 
เออาร์ (Augmented Reality) หรือ วีอาร์ (Virtual Reality)
จะถูกใช้ประโยชน์ไปกับการ "ลดต้นทุนทางธุรกิจ" ยุค 4.0 มากขึ้น หากมองในเชิงการขายและการตลาด ลองนึกภาพการสร้างรูปจำลองของสินค้าในโลกดิจิทัลที่ลูกค้าสามารถเพิ่มเติมรูปแบบ หรือตกแต่งสีสันของสินค้าได้เสมือนจริง และตรงกับรสนิยมของตนเองผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทั้งสนุกและดึงดูดใจ และยังส่งผลทางจิตวิทยาในการกระตุ้นให้การตัดสินใจซื้อได้ง่ายดาย และรวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังช่วยองค์กรในการปรับลดจำนวนการผลิตสินค้าตัวอย่าง ลดทั้งการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้า
 
คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
เทคโนโลยีนี้ช่วยเปิดช่องให้องค์กรธุรกิจได้เข้าถึงสมรรถนะการทำงานของคอมพิวเตอร์และแอพพลิเคชันต่าง ๆ ผ่านทางระบบออนไลน์ และทำให้องค์กรเหล่านั้นสามารถจัดระเบียบและแบ่งปันทรัพยากรไอทีให้ตรงกับความต้องการ ทั้งการใช้งานพื้นฐาน หรือ การใช้งานเฉพาะด้านได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับงบประมาณ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายด้วยตัวเอง ส่วนองค์กรขนาดย่อม ทุนน้อย ก็สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงองค์กรขนาดใหญ่ โดยเลือกใช้บริการคลาวด์สาธารณะ เพื่อการเริ่มต้นหรือขยายโอกาสทางธุรกิจได้ทันที
 
ไอโอที หรือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์(Internet of Things)
ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ธุรกิจ 4.0 "ไม่มีไม่ได้แล้ว" ในฐานะเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงองค์กรของเราเข้ากับผู้คน ลูกค้า สังคม และสิ่งต่าง ๆ ด้วย "ข้อมูล" เช่น การใช้ประโยชน์ในเรื่องของเซ็นเซอร์ (Sensor) เพื่อสร้างระบบตรวจสอบอัจฉริยะเพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพการผลิตที่มีผลต่อการลดต้นทุนการดำเนินงานขององค์กร เป็นต้น
 

ทำไมต้อง CIBA?



การเรียน การสอนสำหรับสาขาที่ต้องการสร้างนักธุรกิจ หรือบุคลากรในภาคธุรกิจเองก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เหมือนกับที่วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy : CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ DPU ซึ่งมีหลักสูตรตรงกับเทรนด์งานในประเทศไทย 4.0 เพิ่มโอกาสหางานง่ายรายได้สูง มีการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบ “Makerspace & Co-working space” เป็นการเรียนรูปแบบใหม่ที่ทำธุรกิจได้ตั้งแต่ในห้องเรียน และมีระบบรองรับในการทำธุรกิจ ตั้งแต่ไอเดียลงมือทำนักลงทุน ไปจนถึงการออกสู่ตลาดจริง
 

สาขาที่เปิดสอน 



วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy : CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ DPU มีหลักสูตรปริญญาตรีที่ครอบคลุม หลากหลาย และทันสมัย ได้แก่
  • สาขาวิชาการตลาดยุคดิจิทัล
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจดิจิทัล
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
  • หลักสูตรการบัญชี
 

การรับสมัคร

สมัครออนไลน์ใน 5 ขั้นตอน

  1. กรอกข้อมูลผู้สมัคร ที่ www.dpu.ac.th/onlineadmission/
  2. ชำระเงินลงทะเบียนนักศึกษา ยื่นกู้รายใหม่ 2,000 บาท  / ทุนตัวเอง จ่ายขั้นต้น 10,000 บาท
  3. ตรวจสอบข้อมูล แจ้งหลักฐานการชำระเงิน
  4. รออีเมลยืนยันการสมัคร
  5. มารายงานตัวที่มหาวิทยาลัย
 

การติดต่อ



Phone : 02-954-7300
Email : ciba@dpu.ac.th
Address : วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่น หลักสี่ กทม 10210
เวลาทำการ : วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.30น. – 16.30น
FACEBOOK : @dpuciba
TWITTER : @dhurakipundit
YouTube : dpuciba
IG : @dpuciba
Line@ : @dpuciba
เว็บไซต์ : http;//ciba.dpu.ac.th
 
 
อ้างอิง
ciba.dpu.ac.th
www.ryt9.com
www.onlinenewstime.com