สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ที่สุดแห่งความพยายาม จากอ่านไม่ออก กลายเป็นผู้คว้ารางวัลยอดนักอ่าน ในวัย 70

UploadImage

                เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 2 เม.ย. 2559 ณ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” นายพงษ์ศักดิ์  ชัยยา ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่สะเรียง  ได้มอบประกาศนียบัตร”สุดยอดการอ่านให้กับนักศึกษา ประชาชนทั่วไป ที่ใฝ่การอ่านใฝ่การเรียนรู้ จำนวน 6 ท่าน ซึ่ง 1 ในจำนวนนี้ ได้มอบให้กับ นักศึกษา กศน.ศูนย์การศึกษา ตำบลแม่ยวม ซึ่งก็คือนางเป้บอย พนาโกเมน หญิงกะเหรี่ยงวัย 70 ปี  โดยพื้นฐานอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่มีความเพียงพยายาม เรียนมาปีที่ 2 จนสามารถอ่านออกเขียนได้เมื่อเข้าสู่วัยชรา
 
                ปัจจุบันนางเป้บอยกำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในนศ.กศน.ที่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และ มีความมั่นเพียรความพยายามอ่านหนังสือ โดยจะเดินทางมาอ่านหนังสือยืมหนังสือที่ห้องสมุดทุกอาทิตย์ ๆละ 3 วัน ต่อเนื่องตลอดทั้งปี  ซึ่งในวันนี้ทาง กศน.แม่สะเรียง ร่วมกับทาง ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จัดกิจกรรม โครงการบรรณสัญจรกิจกรรมความรู้สู่ชุมชน โดยมี นายเฉลิม ปิยศิริวัฒน์ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา เดินทางมาเป็นประธาน
 
                โครงการดังกล่าวสืบเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และมีมติให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็นวันรักการอ่าน ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะพัฒนาคนให้มีความสามารถในการอ่าน และ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทุกภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมการอ่าน ซึ่งศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแม่สะเรียง ได้มุ่งเน้นด้านการส่งเริมการอ่าน ผ่านกระบวนการสอน ผ่านโครงการหนังสือสู่ชุมขน โดยจัดตั้งซุ้มอ่านหนังสือในทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน โดยรับบริจาคหนังสือความรู้ต่างๆผ่านภาคีเครือข่าย ส่งมอบให้กับศูนย์อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นการกระตุ้นและการส่งเสริมเรื่องการจำนวน  1 พันเล่ม เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ รณรงค์เชิญชวนให้มีการบริจาคหนังสือและสื่อส่งเสริมการอ่านแก่ห้องสมุด พร้อมทั้งเป็นการระดมสรรพกำลังจากภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการส่งเสริมการอ่านทั่วอำเภอแม่สะเรียง
 
UploadImage

                นายพงษ์ศักดิ์  เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การส่งเสริมการศึกษาให้การกระบวนการเรียนรู้อ่านออกเขียนได้นั้น ทาง กศน. ได้ทำการการจัดการศึกษาทั้งทตรงโดยครู และทางอ้อม คือ การสนับสนุนชุมชนให้สร้างที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน โดยให้นักศึกษา กศน.เป็นพี่เลี้ยง เข้าไปกระตุ้นดูแล  โดยจัดหาหนังสือที่ได้รับบริจาคส่งมอบให้กับทุกพื้นที่ทุกชุมชนที่มีจุดอ่านหนังสือ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวก็สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการเรียนหนังสือได้ เนื่องจากในพื้นที่ห่างไกลคนที่เคยได้รับการศึกษาจบไปแล้ว 5 -10 ปี ถ้าไม่มีหนังสืออ่านก็จะทำให้ลืมหนังสือได้ จึงถือว่าเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้หนังสืออยู่ตลอดเวลา


ข่าวจาก : มติชนออนไลน์