หน้าแรก ข่าวมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอกชน

มหาวิทยาลัยเกริกได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICSM ครั้งที่ 2

วันที่เวลาโพส 30 เมษายน 64 15:03 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

 

 มหาวิทยาลัยเกริกได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICSM ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยเกริกได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICSM ครั้งที่ 2 ครั้งยิ่งใหญ่ ผ่านแอพพลิเคชั่น Tencent Conference 

การประชุมวิชาการนานาชาติ ICSM ครั้งที่ 2 ระยะเวลา 3 วัน ( ระหว่างวันที่ 27 – 29 เมษายน พ.ศ.2564 ) การจัดการประชุมในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกริกรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริกและคณะผู้บริหาร อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกริก อีกทั้งอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยคณะนานาชาติ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ได้กล่าวถึงการจัดการการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจะก่อให้เกิดการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร ในปัจจุบันทุกสาขา ทุกอาชีพ มีแนวทางในการพัฒนาและติดตามอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันคนเก่งต้องมีภาวะผู้นำ และมีวิธีการจัดการเกี่ยวกับภาวะผู้นำร่วมกันกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในองค์กร ในโอกาสนี้จึงขอเรียนเชิญท่านแขกผู้มีเกียรติ คณะครู และนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายในครั้งนี้

 

อาจารย์หวัง ฉางหมิง ประธานกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกริก ได้กล่าวถึง การจัดการศึกษาอย่างยั่งยืนจากมุมมองของการศึกษานานาชาติการศึกษาจีนการศึกษาไทยในปัจจุบัน รวมถึงการศึกษาจีน-อาเซียน ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาทางด้านการศึกษา

 

 

การศึกษาในประเทศจีน มีข้อได้เปรียบตรงที่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดีอยู่แล้ว ในมุมมองของคนทั่วโลกจะเห็นได้ว่า การศึกษาในประเทศจีนเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ตามยุทธศาสตร์ของ “ One Belt One Road ” ซึ่งในปัจจุบันประเทศจีนได้มีนักศึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีนักศึกษาประมาณ 1,000,000 คน ซึ่งมาจาก 200 ประเทศ และพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 4 แสนคน ที่เข้ามาศึกษาในประเทศจีน


สำหรับการศึกษาในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าการศึกษาไทยนั้น ใกล้เคียงกับการศึกษาตะวันตก ซึ่งค่าใช้จ่ายในการศึกษาของประเทศไทยในแต่ละปี คิดเป็น20เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการส่งเสริมและการพัฒนาการศึกษาไทยภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0

 

 

การศึกษาไทยในปัจจุบันได้มีการผสมผสานกับการศึกษาจีน ที่เรียกว่าการแลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกริกได้มุ่งเน้นด้านการศึกษาเป็นหลัก โดยสำรวจค้นคว้ารูปแบบการศึกษา ไทย-จีน-อาเซียน เพื่อออกแบบรูปแบบการศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยเกริกถือว่าเป็นแหล่งการศึกษาไทยจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังส่งเสริมวัฒนธรรมจีนและสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล

 

 

นอกจากนี้ อาจารย์หวัง ฉางหมิง ได้ให้ข้อคิดกับนักศึกษาที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ว่า “ ถ้าเราหยุดเดินและมองออกไปข้างนอกให้แตกต่าง โลกกว้างจะอยู่ใกล้แค่เอื้อม ”
สุดท้ายนี้อาจารย์หวัง ได้กล่าวแสดงความปรารถนาด้วยความจริงใจแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติในครั้งนี้

 

ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมและผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของการจัดการที่ยั่งยืน ความสำคัญและการคาดการณ์ในอนาคต อีกทั้งยังยกย่องประเทศจีนว่า เป็นประเทศที่มีพัฒนาเติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันประเทศจีนได้มีนโยบายที่มีมุ่งเน้นด้านการศึกษาไทย-อาเซียน และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ตามยุทธศาสตร์ของ “ One Belt One Road ” เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพื่อเป็นการยกระดับและพัฒนาแนวความคิดเชิงกลยุทธ์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุดท้ายนี้ขอให้มหาวิทยาลัยเกริก เจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงเลื่องลือต่อไป

 

 

ดร. จอห์นวอลช์ รองประธานฝ่ายภาษาอังกฤษของโรงเรียนนานาชาติ กล่าวถึงรูปแบบของสังคมปัจจุบัน ด้านการเมือง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความร่วมมือพหุภาคี โดยกล่าวว่าไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และทรัพยากร ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จึงต้องอาศัยแรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ควรหันหน้าเข้าหากันและทำงานร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากข้อดีของแต่ละประเทศเป็นจุดแข็ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

ช่วงเช้าและบ่ายในวันแรก เป็นการอภิปรายจากผู้เข้าร่วมการนำเสนอพิเศษทั้ง 6 ท่าน ได้แก่ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ

 

 

การประชุมวิชาการนานาชาติ ICSM ครั้งที่ 2 เป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ โดยได้รับความกรุณาจาก
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก
อาจารย์หวัง ฉางหมิง ประธานกรรมการบริหาร
รศ. สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
หลี่หลีกวาง ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยนานาชาติ
ดร. หลินยู่จือ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยนานาชาติและรองประธานฝ่ายศิลปะ
ได้รับการสนับสนุนการทำงาน โดยทีมวิชาการของมหาวิทยาลัยนานาชาติ และทีมนักวิชาการทุกท่าน

 

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครเรียนประเทศไทย  โทร 4009-939-969

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด