หน้าแรก ข่าวมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัฐ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. เปิดรับสมัคร TCAS65 รอบที่ 2 โควต้า

วันที่เวลาโพส 10 มีนาคม 65 11:05 น.
อ่านแล้ว 0
พี่กบ AdmissionPremium

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มุ่งจัดการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎี และปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ 


เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านการเกษตรของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าในด้านการส่งเสริมโอกาสการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม มีการเปิดการเรียนการสอนในระบบโมดูล สามารถเลือกเรียนรายวิชาตามความสนใจได้ทั้งหมด 8 หลักสูตร ดังนี้





1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตฟาร์ม
เป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการศาสตร์ด้านต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำการเกษตรครบวงจรทั้ง พืช สัตว์ และประมง เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะครบถ้วนตั้งแต่ระบบการจัดการทำเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่การวางผังพื้นที่ การผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น AI, IoT, Sensor, Digital Platform เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและเพิ่มผลผลิต
อัตราค่าธรรมเนียม 25,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการผลิตพืช ผลิตสัตว์ ประมง 
- นักวิชาการเกษตรและนักวิจัย 
- ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเกษตร 
- พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร




2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและการจัดการภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ผลิตนักศึกษาเน้นไปทางด้านการเป็นนักภูมิทัศน์ที่มีความเชี่ยวชาญรอบด้าน มีความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งการออกแบบ การทำเกษตร การใช้งานเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งในเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม
อัตราค่าธรรมเนียม 25,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
-  นักออกแบบและจัดสวน 
- ผู้ดูแลควบคุมการจัดสวน รุกขกร
- นักออกแบบภูมิทัศน์ภายในอาคาร




3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
ป็นหลักสูตรทางการเกษตรที่มีการจัดเรียนการสอนแบบชุดวิชาแบบเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องและทันกับยุคสมัยในปัจจุบัน ในยุคที่การเกษตรต้องอาศัยเทคโนโลยี และผสมผสานหลายสาขาเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
อัตราค่าธรรมเนียม 18,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการผลิตพืช 
- นักวิชาการเกษตรและนักวิจัย 
- พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 




4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
เป็นหลักสูตรที่สร้างให้นักสัตวศาตร์มีความรู้ด้านจัดการฟาร์ม การทำสัตวบาล วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ รวมถึงสามารถจัดการและแปรรูปผลผลิตจากเนื้อสัตว์ได้
อัตราค่าธรรมเนียม 18,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- สัตวบาลประจำ พนักงานขายอาหารสัตว์ 
- นักวิชาการเกษตรด้านสัตวศาสตร์ 
- นักตัดแต่งและแปรรูปเนื้อสัตว์




5. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรการประมง
มีการเชื่อมโยงรายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ โดยเน้นผู้เรียนให้ได้ฝึกปฏิบัติจริงทั้งภายในคณะและสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญให้สามารถนำไปปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนสามารถเลือกวิชาได้ตามความถนัด เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้งานทางด้านนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรประมงมีความสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน
อัตราค่าธรรมเนียม 18,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้ประกอบการขนาดเล็ก 
- พนักงานบริษัทเอกชนในธุรกิจสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยาการประมง 
- สามารถรับราชการในกรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ 




6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
เป็นหลักสูตรที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ทางการเกษตรตามแนวศาสตร์พระราชา กับพื้นที่จริง เน้นประสบการณ์การฝึกงาน การลงพื้นที่ ค้นหาปัญหา และแนวทางแก้ไข รวมถึง ฝึกกระบวนการคิด เป็นนักการจัดการปัญหาทางการเกษตร ที่สามารถคิดรอบด้าน ต้นแต่การผลิต แปรรูปจนไปถึงการทำการตลาดไปใช้ในพื้นที่จริงในชุมชน
อัตราค่าธรรมเนียม 18,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
- นักพัฒนาการเกษตร 
- นักส่งเสริมการเกษตร 
- นักพัฒนาชุมชน 
- ผู้จัดการฟาร์ม




7. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร
เป็นสาขาวิชาเดียวในประเทศที่เป็นตัวกลางนำความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรส่งสารไปสู่เกษตรกร ชุมชน และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ผ่านสื่อและช่องทางต่าง ๆ ที่ทันสมัย เป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านวิทย์และศิลป์เข้าด้วยกัน บัณฑิตที่จบออกไปจึงเป็นนักนิเทศศาสตร์ที่มีพื้นความรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เข้าใจเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเรื่องยากให้สามารถเผยแพร่หรือถ่ายทอดเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ออกมาให้เข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว ถูกต้อง และชัดเจนกว่านักนิเทศศาสตร์ทั่วไป
อัตราค่าธรรมเนียม 25,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้ผลิตสื่อทางการเกษตร 
- นักส่งเสริมการเกษตร 
- ผู้ผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ 
- นักออกแบบกราฟิก สิ่งพิมพ์ สื่อดิจิทัล 
- ผู้ผลิตคอนเทนต์ออนไลน์

8. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตร และ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์                          หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา
หลักสูตร AGRINOVATOR หลักสูตรควบสองปริญญาหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่พัฒนาบัณฑิต ให้มีความรู้เชิงลึกด้านการเกษตรควบคู่กับวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมทางการเกษตรมีจุดแข็ง ในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้แบบสหวิทยาการ คือ ความรู้ทางด้านเกษตรและวิศวกรรมศาสตร์ที่เข้มข้น เพิ่มโอกาสในการจ้างงานหรือเป็นผู้ประกอบการเอง นอกจากนั้นยังสร้างเครือข่ายภายในสายงานเกษตรและวิศวกรรมให้แก่นักศึกษาตั้งแต่ยังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย เนื่องจากหลักสูตรได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจชั้นนำมากมาย มาร่วมเป็นวิทยากรจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนและพี่เลี้ยงในการฝึกงาน
อัตราค่าธรรมเนียม 40,000  บาท/ภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
- ผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) นวัตกร (Innovator) 
- พนักงานในองค์กรเกษตร (Agricultural Officer) 
- นักพัฒนาการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ (Creative Agricultural Extensionist)

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในคณะ มีตู้ 7-eleven ATM และมีเครื่อง Fast Print ที่ใช้งานได้ง่ายและมีสะดวกให้บริการนักศึกษาอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง บริเวณ Automatic Zone โถงกลางอาคารเจ้าคุณทหาร มีลิฟต์ในหลากหลายจุดรอบคณะคอยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา มีโรงอาหารตั้งอยู่กลางน้ำ และที่พิเศษอย่างยิ่งคือมีร้านฟาร์มเจ้าคุณที่บริการทั้งอาหารและเครื่องดื่มให้กับนักศึกษาอยู่ด้านหน้าของอาคารเรียน รวมถึงมี Coworking Space แห่งใหม่ 24 Café ณ อาคารสตูดิโอริมน้ำนิเทศศาสตร์เกษตร



โควตาที่เปิดรับ
1. หลักสูตร ๔ ปี ( ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 65 )
2. หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี ๒ ปริญญา ( ปิดรับสมัคร 21 มี.ค. 65 )
3. โครงการบัณฑิตคืนถิ่น ( ปิดรับสมัคร 31 มี.ค. 65 )
รายละเอียดประกาศเพิ่มเติม >> http://www.agri.kmitl.ac.th/AgriTH/?p=4985
ลิงก์สมัคร >>  https://new.reg.kmitl.ac.th/admission/#/



ช่องทางการติดต่อ
โทร. 02-329-8504 , 095-969-2975
Website : http://www.agri.kmitl.ac.th
Facebook : https://m.facebook.com/AgriKMITL2016/
Line : @agrikmitl

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด