หน้าแรก บัญชี ข่าว/บทความ

กว่าลูกจะโตและเรียนจบปริญญา พ่อแม่ต้องวางแผนเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง?

วันที่เวลาโพส 12 ธันวาคม 60 14:46 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
น้องๆ นักเรียน นักศึกษา และผู้ใหญ่หลายคนคงทราบกันดีว่า นอกจากการอบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูทางกายแล้ว ภาระหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเป็นพ่อแม่คนไม่ว่าจะยุคสมัยไหนก็คือ “การศึกษา” ซึ่งพ่อแม่ทุกคนถ้าเลือกได้ ก็ต้องอยากให้ลูกๆ มีโอกาสทางการศึกษาดีๆ ได้เรียนสถาบันที่ดีที่สุด และเรียนในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

ซึ่งการเป็นคุณพ่อคุณแม่ในยุคปัจจุบันนี้ การจะมีลูกซักคนย่อมมีเรื่องให้ต้องคิดต้องวางแผนตามมาอีกมาก และหนึ่งในนั้นก็คือ  “ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูก”  ที่ต้องมีการวางแผนเตรียมการอย่างเป็นระบบตั้งแต่ก่อนอนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรี

เพราะหากครอบครัวไหนที่ไม่วางแผนทางการเงินหรือเตรียมการไว้เนิ่นๆ ก็อาจจะมีปัญหาหนี้สินหรือกรณีฉุกเฉินอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดตามมาได้เช่นกัน และบทความนี้เรามี ขั้นตอนคร่าวๆ และการประมาณค่าใช้จ่ายการศึกษาทั้งหมด มาแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่และลูกๆ ทุกคนได้เตรียมพร้อมกันเอาไว้ อย่ารอช้า ตามมาดูกันเลย



1. เลือกประเภทสถาบันการศึกษา
คุณพ่อคุณแม่จะต้องคิดว่าจะให้ลูกเรียนไปทางสายไหน ซึ่งโดยปัจจุบันก็มีอยู่หลายแบบ ทั้งสถาบันของรัฐบาล และเอกชน ซึ่งก็มีแบ่งเป็นเอกชนธรรมดา เอกชนสายทางเลือก เอกชนแบบ 2 ภาษา หรือ EP : English Program หรือเอกชนแบบนานาชาติ ที่มีแต่ครูต่างชาติ 100% เลย

ซึ่งค่าเทอมก็แพงขึ้นตาม แน่นอนว่าการเลือกประเภทของสถาบันการศึกษา ย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมแน่นอน ดังนั้น พ่อแม่ต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบในระยะยาว อย่าลืมสอบถามและหาข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละสถาบันเปรียบเทียบกันให้ชัดๆ เพื่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดน้อยที่สุดด้วย


2. เลือกทำเลที่ตั้งสถานศึกษา 
หลังจากเลือกประเภทของสถาบันการศึกษาของลูกแล้ว พ่อแม่ก็ต้องมาดูต่อว่าจะให้ลูกเรียนโรงเรียนแถวไหน จะใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงานคุณพ่อคุณแม่ ถ้าพ่อแม่บางคนจะเลือกใกล้บ้านก็อาจจะไม่ต้องตื่นเช้ามากเพื่อไปโรงเรียน ซึ่งก็ทำให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือถ้าเลือกสถาบันดังๆ ที่ต้องการ แต่ต้องใช้เวลาเดินทางไกล ก็ต้องเตรียมใจว่า ลูกอาจต้องตื่นเช้ากว่าคนอื่น ต้องกินข้าวในรถระหว่างไปโรงเรียน ขากลับก็อาจเจอรถติดยาว หรือต้องจ้างรถโรงเรียนเพื่อให้กลับบ้านเร็วขึ้น ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย

ซึ่งทั้งสองข้อนี้ต้องคิดให้ดี เพราะลูกต้องใช้เวลาเรียนหลายปี แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ เขียนรายชื่อโรงเรียนที่ต้องการ จากนั้นแวะไปเยียมชมโรงเรียน และควรไปช่วงวันที่ทำการเรียนการสอนปกติเพื่อจะได้เห็นแนวทางการสอนแบบสดๆ จากนั้นก็ประเมินว่าจะใช้เส้นทาง รูปแบบการเดินทาง หรือระยะเวลาไปกลับอย่างไรจะตอบโจทย์ครอบครัวที่สุด


3. เตรียมวางแผนและหาเงินสำหรับการเรียนในแต่ละช่วง

ระดับเตรียมอนุบาลและอนุบาล
ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานของเด็กๆ โดยค่าใช้จ่ายในช่วงนี้ ก็จะเป็นค่าอาหารกลางวัน ค่าเรียนว่ายน้ำ ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง

ระดับประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย/อาชีวศึกษา
ค่าใช้จ่ายในช่วงวัยนี้ แน่นอนว่าค่าเรียนหรือค่าเทอมจะสูงขึ้นกว่าระดับอนุบาลเกินเท่าตัว โดยรายจ่ายอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งค่าหนังสือ เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน การทำกิจกรรม และที่เพิ่มสูงขึ้นมาชัดเจนเลยคือ ค่าเรียนพิเศษหรือติวหนังสือ เพื่อเตรียมสอบเข้ามัธยมปลายและมหาวิทยาลัยนั่นเอง

ระดับปรัญญาตรีขึ้นไป
ค่าใช้จ่ายในช่วงนี้ นอกจากค่าเทอมแล้ว ก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาหลักๆ คือ ค่าหอ ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรม และการกินอยู่ของแต่ละคน


4. ประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละช่วงวัยของลูก
การวางแผนจะส่งลูกเรียนนั้นคือสิ่งสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องตัดสินใจและวางแผนให้ลูกในระยะยาวจนอาจถึง 20 ปี ดังนั้น สิ่งแรกหลังจากได้ประเภทการศึกษาและทำเลโรงเรียนลูกที่ต้องการแล้ว คือ “ค่าใช้จ่ายประมาณการที่ต้องเตรียมทั้งหมด” คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ ต้องคิดทันทีเป็นสิ่งแรกครับ เพื่อวางแผนการเก็บออมถูก และควรพิจารณาในหลายๆ ด้านประกอบกันตามความพร้อมของแต่ละครอบครัวด้วย 

ช่วง 9 เดือนแรกก่อนคลอด ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 – 180,000 บาท

ทารกก่อนวัยเรียน (0-4 ปี)  ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 – 50,000 บาท/เดือน

วัยอนุบาล (4-7 ปี)  ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 – 80,000 บาท/เทอม

วัยประถม (7-12 ปี)  ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 – 150,000 บาท/เทอม

วัยมัธยม (12-18 ปี)  ค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 – 300,000 บาท/เทอม

วัยมหาวิทยาลัย (12-21-24 ปี)  ค่าใช้จ่ายประมาณ 70,000 – 500,000 บาท/เทอม

และค่าเล่าเรียนเฉลี่ยของแต่ละช่วงวัยจะเห็นว่า ยิ่งลูกโตค่าเล่าเรียนจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แถมค่าเล่าเรียนที่เอามาโชว์นี้ก็ยังเป็นมูลค่าค่าเล่าเรียนในปัจจุบัน ดังนั้น การจะวางแผนทุนการศึกษาของลูก ควรต้องมีการประมาณการเงินเฟ้อด้วย จะทำให้ได้ตัวเลขเป้าหมายค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาในอนาคตได้ชัดเจนแม่นยำขึ้น




ที่มา :
www.parentsone.com
aommoney.com

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด