สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ใครยังสงสัย เรียนบัญชี ทำงานอะไรได้บ้าง? มาทางนี้เลย

 
น้องๆ มัธยมที่กำลังหาคณะหรือสาขาเพื่อวางแผนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา มักมีคำถามมากมายว่า "พี่คะ...เรียนจบบัญชี แล้วไปทำงานอะไรได้บ้างคะ?" วันนี้พี่จะพาน้องๆ ไปคลายข้อสงสัยนี้กันว่า เรียนจบบัญชี จะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง? ตามไปดูทั้ง 8 อาชีพที่เรานำมาฝากกันได้เลย



1 นักบัญชี พนักงานบัญชี เจ้าหน้าที่ทางการเงิน 
นักบัญชี สมุห์บัญชี หรือเจ้าน้าที่ทางการเงิน ทำหน้าที่ในการจัดการงบประมาณ วิเคราะห์แผนการเงิน ตรวจสอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัทหรือองค์กรนั้น เรียกว่าน้องๆ สามารถทำงานได้แทบทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเงินและมีแผนกบัญชี อาทิ ธนาคาร บริษัทประกันภัย องค์กรธุรกิจเอกชน รัฐบาล และสถานประกอบการต่างๆ รวมไปถึงบริษัทที่รับทำบัญชีให้บริษัทอื่นอีกที 
 

2 ข้าราชการ
การเป็นนักบัญชี ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนการเงิน หรือตำแหน่งอื่นๆ ในหน่วยงานราชการ อันดับแรก น้องๆ ต้องเริ่มจากเริ่มจากสมัครและสอบเข้า ก.พ. หรือสอบตรง แล้วจึงจะสามารถสมัครเข้าทำงานีกที ข้อดีของการเป็นพนักงานบัญชีของรัฐนั้นก็คือ ความมั่งคง สวัสดิการดีค่ะ ดูแลเรื่องการเจ็บป่วยของพ่อแม่และครอบครัว ถ้าอยู่จบเกษียณ มีทั้งบำเหน็จและบำนาญไว้ใช้
 


3 ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) 
เป็นผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบกิจการบุคคล สถาบันเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การรับรองความถูกต้อง และความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน มีหน้าที่ดูตัวเลขทางบัญชีและเซ็นเอกสารรับรองการบัญชีของบริษัทต่างๆ และหากคุณเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) จะทำให้มีโอกาสก้าวหน้าในการงานมากยิ่งขึ้น


4 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
อาชีพอิสระรายได้ดีเป็นที่ใฝ่ฝันของนักบัญชีหลายคน "ผู้สอบบัญชีรับใบอนุญาต" (Certified Public Accountant) คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี โดยมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ เพื่อควบคุมดูแล มีหน้าที่ในการเข้าไปตรวจการจัดทำงบการเงินของบริษัทต่างเพื่อรับรองว่าบริษัทนั้นทำถูกต้องหรือไม่ เป็นความใผ่ฝันของเด็กบัญชีหลายคน เพราะเป็นวิชาชีพที่ได้เงินดีมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ 
 

5 ที่ปรึกษาทางบัญชี
อาชีพที่ปรึกษาทางบัญชี สามารถเป็นอาชีพทั้งอิสระและทำงานในองค์กรด้านนี้โดยตรง ซึ่งเป็นอีกสายงานที่มีราายได้สูงทั้งในและต่างประเทศ โดยผู้ให้บริการด้านคำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี มีหน้าที่จัดทำ แก้ไข วางระบบ และตรวจสอบบัญชีและภาษีภายในองค์กรเพื่อให้การดำเนินงานอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน


6 ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist)
อาชีพนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรในด้านการปฏิบัติภาษีอากร กฎหมายภาษี เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานหรือบริษัท เพื่อช่วยวางแผนและแก้ปัญหาในการเสียภาษีให้แก่องค์กรต่างๆ ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภท 


7 ครู อาจารย์ ติวเตอร์
นอกเหนือจากการทำงานด้านบัญชีโดยตรงแล้ว นักบัญชียังสามารถใช้วิชาชีพที่มีไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นด้วยการเป็นอาจารย์หรือติวเตอร์ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งปัจจุบันผู้ที่จะเป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องจบคุรุศาสตร์ เพียงแค่ใช้วิชาชีพที่จบมาสอนได้ แต่ถ้าน้องๆ จบปริญญาตรี ระดับที่สามารถสอนได้คือ ปวช. ปวส. แต่ถ้าอยากเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องมีการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบัญชีก็สามารถกลับมาเป็นอาจารย์อยู่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่นักศึกษาได้เช่นกัน



8 ธุรกิจส่วนตัว
ผู้ที่เรียนจบด้านพาณิชย์และการบัญชีสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประกอบธุรกิจส่วนตัวได้โดยง่าย เพราะมีความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการรายได้ต่างๆ อย่างดี โดยนักบัญชีที่ผันตัวมาประกอบธุรกิจส่วนตัว อาจมีประสบการณ์การทำงานมานานและเก็บเกี่ยวความรู้ ทักษะการทำธุรกิจและการบริหารงานมาแล้วพอสมควร 

 

ข้อมูลงานและอาชีพเพิ่มเติมของ นักบัญชี

UploadImage