สอบเข้ามหาวิทยาลัย

อนาคตการเรียนวิศวกรรม กับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า EV



กระแสรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ( Electric Vehicle )

กระแสรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ( Electric Vehicle ) กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในแวดวงยานยนต์โลก โดยมี Tesla ผู้ผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และมีผู้ผลิตรถยนต์อีกหลายเจ้าที่เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่ายกันแล้ว ทั้งจากฝั่งอเมริกา ยุโรป และเอเชีย แน่นอนว่าของไทยเราก็มี “ VERA V1 ” ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย แบรนด์แรกด้วย


นอกจากรถยนต์เป็นคัน ๆ แล้ว กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของประเทศไทย ได้ทำสัญญาเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์น้ำหนักเบา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไทยซัมมิทกรุ๊ปพัฒนาขึ้นมาเองเพื่อส่งมอบให้กับ Tesla บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สำหรับใช้เป็นโครงสร้างรถยนต์เทสล่า โมเดล 3 รุ่นล่าสุดของเทสล่า ในระยะ 4-5 ปีนับจากนี้

ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ได้ประเมินยอดขายรถยนต์นั่งไฟฟ้า ( Electric Vehicles : xEV ) ของไทยในปี 2565 แตะ 6.36 หมื่นคัน  โดยเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ( BEV ) ถึง 1 หมื่นคัน  หรือขยายตัว  539.7%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564   ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์  

จากอานิสงส์มาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตามกระแสความนิยมยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกในด้านราคาและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด ( Hybrid ) และไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (  PHEV ) ที่คาดว่าจะสูงถึง 5.3 หมื่นคัน สวนทางกับกระแสรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) หดตัวจากปี 2564 ถึง 8.8%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics




ข้อดี – ข้อเสีย

 แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีข้อดีที่การประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ในระยะยาว แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่อีกมากทั้งราคาที่สูงกว่ารถใช้น้ำมันมาก ในขณะที่ระยะทางวิ่งยังไม่สูงมาก จำเป็นต้องใช้เวลาชาร์จนาน ในการชาร์จแบบปกติอาจต้องใช้เวลาถึง 8 ชั่วโมง ในขณะที่ Quick Charging อาจต้องใช้เวลาถึง 30 นาที และในประเทศไทยยังมีสถานี Quick Charging อยู่น้อยมาก


ลักษณะการขยายตัวของสถานีชาร์จในไทยจะกระจุกตัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ กระจายออกไปสู่หัวเมืองใหญ่ และเส้นทางหลัก
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC


อนาคตการเรียนวิศวกรรม

การจะพัฒนาให้รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นสินค้าหลักในตลาดยานยนต์ในอนาคตจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการพัฒนาเทคโนโลยียายนตร์ไฟฟ้าจากทั้งผู้ผลิต และจากวิศวกร เพื่อพัฒนาศักยภาพรถยนต์ไฟฟ้าให้สามารถแข่งขันกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้ในราคาที่ถูกลง

 


สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอยากเป็นหนึ่งในวิศวกร ผู้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้า สำหรับการเรียนในคณะวิศวกรรม ในประเทศไทยมีสาขาวิศวกรรมยานยนต์เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางวิศวกรรม และกลไกการทำงานของชิ้นส่วนยานยนต์  การนำเชื้อเพลิงและพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ โดยหน้าที่หลักของวิศวกรยานยนต์ เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบ ควบคุมการผลิต  ค้นคว้า  วิเคราะห์  ทดสอบ  ดัดแปลง  เกี่ยวกับยานพาหนะ อีกทั้งสามารถอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์เกี่ยวกับ เครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน  ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน ระบบเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในยานยนต์

ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อการต่อยอดไปสู่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าให้สามารถแข่งขันในตลาดยายนต์ได้

 แนะนำหลักสูตรที่เปิดสอน 
มหาวิทยาสยาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
สาขาวิศวกรรมยานยนต์
เว็บไซต์ : https://eng.siam.edu/

จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมยานยนต์ จนได้รับการขนานนามว่า Detroit of Asia ทำให้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรระดับวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์มุ่งที่จะผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ให้เป็นผู้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพด้านสาขาวิศวกรรมยานยนต์ เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ได้ศึกษาทั้งในห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการของภาควิชาฯ และส่งนักศึกษาเข้าเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากสถานประกอบการ อีกทั้งมุ่งพัฒนาให้เป็นวิศวกรซึ่งมีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถนำความรู้ความสามารถไปประกอบวิชาชีพส่วนตัวได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์หลักสูตร
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และออกแบบทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ได้
2. มีความรู้เฉพาะทางที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมไทย
3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนำไปประยุกต์ใช้ได้
4. มีความรู้ด้านการผลิตและการบริการยานยนต์
5. มีความริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
6. มีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
7. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย

แนวทางการประกอบอาชีพ
1. วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน วิศวกรอำนวยการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพสินค้า วิศวกรควบคุมหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลภายในโรงงานทางด้านอุตสากรรมยานยนต์
2. วิศวกรออกแบบ ทดสอบ งานทางด้านยานยนต์
3. วิศวกรควบคุมการติดตั้งระบบงานทางด้านยานยนต์
4. วิศวกรการขายหรืองานบริการทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ วิศวกรประจำทีมการแข่งขัน หรือฝ่ายจัดการแข่งขันทางด้านยานยนต์
5. อาจารย์ / นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
6. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการทางด้านยานยนต์
7. งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมยานยนต์และเครื่องกล เช่น วิศวกรประเมินราคา





ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยว คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (คลิก)


ขอบคุณข้อมูลจาก : voicetv
                              www.thaisummit.co.th
                              car.kapook.com
                              finance.rabbit.co.th
                              auto.sanook.com
                              www.manager.co.th

                          www.scbeic.com/th
                               www.tesla.com