สอบเข้ามหาวิทยาลัย

โลจิสติกส์ เรียนยากไหม? กับเรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจเรียน

โลจิสติกส์ เรียนยากไหม...ตอบเลยว่า ยาก...ถ้าไม่มีการเตรียมตัวหรือศึกษาข้อมูลมาก่อน ซึ่งก็เป็นแบบนี้ในการเรียนทุกสาขาวิชา นอกจากข้อมูลพื้นฐานอย่าง โลจิสติกส์ เรียนเกี่ยวกับอะไร? เรียนที่ไหน? จบไปทำงานอะไร ? ซึ่งน้องๆ สามารถเข้าไปดูคำตอบอย่างละเอียดได้จากบทความนี้เลย > "โลจิสติกส์" เรียนเกี่ยวกับอะไร เรียนที่ไหน จบไปทำงานอะไร 

แต่ที่นอกเหนือจากข้อมูลพื้นฐานที่เราแนะนำไปข้างบนแล้ว สิ่งเราอยากจะบอกและตั้งใจนำมาฝากน้องๆ กันในบทความนี้ ก็คือ 5 เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจเรียนสาย โลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมตัวเรียน ความแตกต่างระหว่างสาขาต่างๆ ของโลจิสติกส์ 

1 หาข้อมูลและเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เลือกเรียนม.ปลาย สายวิทย์-คณิต
น้องๆ คนไหนรู้ตัวว่าเริ่มสนใจในสาขานี้ ก็ขอให้เริ่มเตรียมตัวเตรียมคุณสมบัติเพื่อที่จะเข้าเรียนสาขานี้กันตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ ก่อนขึ้น ม.ปลาย ต้องเลือกแผนการเรียน สายวิทย์-คณิต แต่ถ้าเปลี่ยนไม่ทันและใครที่ไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต มา แต่ยังสนใจจะเรียนต่อก็สามารถเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนหรือมหาวิทยาลัยเปิดได้ จากนั้นก็หาข้อมูลการเรียนของคณะสาขานี้ จากนั้นหาดูว่ามีมหาวิทยาลัยในไทนที่ไหนบ้างที่เปิดสอน และสำหรับใครที่ไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต มา ก็สามารถเข้ามหาวิทยาลัยของเอกชนได้

2 รู้ความเหมือนและต่างระหว่าง การจัดการโลจิสติกส์ VS วิศวกรรมโลจิสติกส์ 
เมื่อน้องๆ หาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาเรียนทางด้านโลจิสติกส์ไปซักพัก ก็จะเห็นว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรเกี่ยวกับโลจิสติกส์ที่อยู่ในคณะโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาการการจัดการ รวมไปถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์

นั่นก็เพราะหลักสูตรนี้มันมีความแตกต่างกันในบางเรื่องระหว่าง การจัดการโลจิสติกส์ และ วิศวกรรมโลจิสติกส์ นั่นเอง ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองหลักสูตรนี้น้องๆ สามารถเข้าไปอ่านดูรายละเอียดได้ที่นี่เลย >> การจัดการโลจิสติกส์ VS วิศวกรรมโลจิสติกส์


3 เรียนโลจิสติกส์ ต้องเก่ง
วิชาที่น้องๆ ต้องเตรียมฝึกฝนและความถนัดที่ต้องใช้ในการเรียนให้จบและทำงานได้ พื้นฐานคือ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ ส่วนวิชาเฉพาะสายอาชีพก็ต้องมีความรู้แนวคิดและหลักการด้านวิศวกรรมกับโลจิสติกส์ 


4 ไม่ได้เรียนแค่เรื่องการขนส่ง
แต่มีรายละเอียดงานและอาชีพกว้างมากกว่านั้น เช่น แนวคิดและหลักการด้านวิศวกรรมกับโลจิสติกส์ เทคนิคทางด้านการออกแบบและควบคุมการขนส่ง จัดเก็บ เคลื่อนย้าย สินค้าและบริการ การวิเคราะห์ วิจัยปัญหาในภาคอุตสาหกรรม

ตลอดจนส่วนที่ เกี่ยวข้องในระบบโซ่อุปทาน และการประยุกต์ทางด้านเทคนิคต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการ การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนในการผลิต รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า


5 เงินเดือนและแนวโน้มโอกาสงาน ดีมาก
เส้นทางอาชีพและการทำงานงานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มสูงมาก เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ

โดยสายงานและตำแหน่งที่คนจบด้านโลจิสติกสามารถทำได้หลากหลายมาก เช่น วิศวกรประจำคลังสินค้า วิศวกรจัดซื้อ วิศวกรขนส่ง วิศวกรออกแบบระบบขนถ่ายวัสดุ วิศวกรออกแบบบรรจุภัณฑ์ วิศวกรบริหารนักวิเคราะห์ธุรกิจและโมเดลโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโลจิสติกส์ วิศกรออกแบบและวางแผนระบบการให้บริการโลจิสติกส์ รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาโลจิสติกส์
 

ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ >> Adecco Thailand Salary Guide 2020 : Supply Chain / Logistics 



จากทั้ง 5 ข้อน่ารู้ที่เราแนะนำไปแล้ว คงพอจะช่วยไกด์เป็นแนวทางให้น้องๆ เอาไปประกอบการตัดสินใจได้ว่าจริงๆ แล้วนั้น โลจิสติกส์ เรียนยากไหม?​ เหมาะกับความชอบ ความฝัน ความต้องการ และความเข้าใจของเราหรือไม่


อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโลจิสติกส์เพิ่มเติม
โลจิสติกส์ เรียนเกี่ยวกับอะไร เรียนที่ไหน จบไปทำงานอะไร
เรียนโลจิสติกส์ จบมา จะตกงานหรือไม่