สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ทำไมต้อง TCAS TCAS ดีจริงหรือ ?

     เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 ทางสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดให้ผู้สมัคร TCAS61 รอบที่ 4 แอดมิชชัน ตรวจสอบคะแนนดิบที่ใช้ในการคัดเลือกและการตัดสิทธ์แอดมิชชัน ต้องยอมรับว่าการรับเข้ารูปแบบใหม่ TCAS มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายจากสื่อ น้อง ๆ Dek61  หรือแม้กระทั่งผู้ปกครอง
 

 
     “จบ ม.6 มา 4 เดือนแล้วยังไม่มีที่เรียนเลย” คำพูดที่สะท้อนถึงความกังวัลหลักของ Dek61 เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เข้าคณะ สาขา ในมหาวิทยาลัยที่หวังไว้ แท้ที่จริงแล้วระบบการรับเข้ารูปแบบใหม่ TCAS ไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่ ทปอ. เพียงนำรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีมานานแล้ว มาปรับเป็น 5 รอบโดยการใช้การพิจารณาการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ เช่น Portfolio แฟ้มสะสามงาน, รอบโควตา, รูปบบการสอบแบบรับตรง หรือแม้กระทั่ง ระบบแอดมิชชัน เห็นไหมคะว่าระบบการรับเข้ารูปแบบเหล่านี้มีมาตั้งแต่สมัยรุ่นพี่ของเราแล้ว


 
     "เพื่อลดความไม่เท่าเทียม การเดินสายสอบ การกั๊กที่นั่ง วิ่งลอกสอบ สูญเสียค่าใช้จ่ายมาก มหาวิทยาลัยจัดสอบซ้ำซ้อนจากที่มีการสอบอยู่แล้ว" จากเหตุผลหลัก ๆ เหล่านี้ ทางสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จึงนำปัญหาต่าง ๆ มาพัฒนาและจัดระเบียบใหม่แก้ไขรูปแบบการรับสมัคร ทำให้เกิดการรับเข้ารูปแบบใหม่ TCAS 5 รอบ รอบที่ 1 Portfolio รอบที่ 2 โควตา รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน รอบที่ 4 แอดมิชชัน และรอบที่ 5 รับตรงอิสระ
 
     “TCAS ไม่ใช่อะไรที่ใหม่ TCAS เป็นเพียงการจัดระเบียบรูปแบบการสอบที่เคยมีมาอยู่แล้ว
เราเป็นเพียงผู้จัดรูปแบบการรับสมัครโดยคำนึงถึงการให้โอกาสเด็กเป็นสำคัญ” 


     แต่หัวใจสำคัญของระบบ TCAS คือการมีระบบ “เคลียริ่งเฮ้าส์” เพื่อให้ 1 คน มีเพียง 1 สิทธิ์ ถือว่าเป็นประเด็นหลักที่ ทปอ. ต้องการให้ทุกคนมีสิทธิในการเข้าคณะ สาขา มหาวิทยาลัยที่เด็ก ๆ ฝันเอาไว้ จะไม่มีการกั๊กที่ในมหาวิทยาลัย

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : เดลินิวส์