หน้าแรก U-Recommend แนะนำคณะสาขา มหาวิทยาลัย สาขาแนะนำ 2021

U-Recommend แนะนำหลักสูตรศิลปกรรม ปี 2021

วันที่เวลาโพส 20 มีนาคม 64 18:43 น.
อ่านแล้ว 0
ทีมงาน AdmissionPremium


เน้นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบริสุทธิ์ ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อการค้าพาณิชย์ แต่มุ่งตอบสนองความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ ทฤษฎีศิลปะ และการวิเคราะห์งานศิลปะ เพื่อนำมาประกอบกับการทำงานของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และฝึกฝนให้เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีระบบ รู้จักวางแผนการค้นคว้า และขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงาน

แนวทางประกอบอาชีพ
- แฟชั่นดีไซเนอร์ แฟชั่นบล็อกเกอร์ นักจัดการสินค้าแฟชั่นหน้าร้าน ที่ปรึกษาส่วนบุคคลในการเลือกเครื่องแต่งกาย แฟชั่นสไตลิสต์
- นักออกแบบเครื่องเรือน นักออกแบบอีเวนต์และจัดแสดงสินค้า เดคอร์สไตลิสต์ ผู้ประกอบธุรกิจด้านการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ 
- กราฟิกดีไซเนอร์ เว็บดีไซเนอร์ โมชั่นกราฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบแอนิเมเตอร์ นักออกแบบสินค้าสร้างสรรค์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักวาดภาพประกอบ

 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 
คณะศิลปกรรมศาสตร์


คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้เปิดการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและการออกแบบ ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงสร้างสรรค์  โดยมี 3 วิชาเอกเฉพาะทาง ได้แก่ วิชาเอกการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น วิชาเอกการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน และหลักสูตรการออกแบบกราฟิก อีกทั้งยังได้จัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาพื้นฐานทางศิลปะ เพื่อปูพื้นฐานทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษา ตั้งแต่แรกเข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาได้ต่อยอดในเอกวิชาเฉพาะด้านต่อไป คณาจารย์ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นผู้ที่มีความรู้ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานในตลาดวิชาชีพเฉพาะทางที่รู้จริง ปฏิบัติจริงสามารถถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง และลึกซึ้ง นอกจากนี้นักศึกษายังจะได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากร อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผู้ประกอบการ และผู้ที่มีชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับทั้งด้านวิชาการ การบริหารจัดการ และมีความชำนาญในวงการวิชาชีพเฉพาะทาง นักศึกษาของคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลจากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่มีชื่อเสียงระดับชาติอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี คณะศิลปกรรมศาสตร์นั้นมีกิจกรรมหลากหลายประเภทเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าร่วม เพราะเราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าในโลกการศึกษาในปัจจุบัน นักศึกษาควรมีความรู้กว้างขวางขึ้น ไม่ควรเรียนอยู่เฉพาะในห้องผ่านวิชาที่จัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่นักศึกษาควรได้ความรู้ผ่านทางกิจกรรมในหลากหลาย รูปแบบอีกด้วย ตัวอย่างกิจกรรมที่เรามีอยู่เช่นกิจกรรม Silpakum International Art & Design Week ที่ตลอดทั้งสัปดาห์จะมีกิจกรรมหลากหลายเช่น งานนิทรรศการ การฉายภาพยนต์ทางศิลปะ การอบรม บรรยายพิเศษจากดีไซน์เนอร์จากบริษัทดังๆ และจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ                  

กิจกรรม Silpakum Popup shop ที่ได้พานักศึกษาไปออกร้านแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายสินค้าที่เป็นงานออกแบบ ของนักศึกษาเอง งาน Art & Design Collaboration คืองานความร่วมมือของเครือข่ายศิลปะและการออกแบบทั้งในและต่างประเทศซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับ ศิลปิน ศิลปินดีไซน์เนอร์ดังๆ  และนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น และนอกจากนี้ในเรื่องของการเรียนการสอน ตลอดเวลาที่ได้ศึกษาอยู่ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะฯได้จัด อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางไว้คอยแนะนำให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคนเกี่ยวกับเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เป็นต้น  

ปรัชญา
รู้ในศาสตร์การออกแบบที่หลากหลาย สร้างผู้ประกอบการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน

ปณิธาน
มุ่่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้มีคุอดระยะเวลาที่ศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตณภาพทางวิชาการทั้งศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบที่หลากหลาย โดยผนวกความรู้ด้านการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ การประกอบธุรกิจและแนวคิดในการออกแบบอย่างยั่งยืน เน้นการสร้างประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงตามสาขาวิชาชีพ 

พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษาพึงมี
1.  มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม
2.  เป็นแบบอย่างที่ดี มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ

จุดเน้น พัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ดี ประกอบกับมีความสามารถในการที่จะผนวกความรู้ด้านธุรกิจให้เข้ากับการทำงานในเชิงสร้างสรรค์ได้

คณะศิลปกรรมศาสตร์มุ่งหวังที่จะเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาได้สะสม กระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ทำงานอย่างมีทักษะ และการครองตนเพื่อรักษาไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม สมคุณค่าการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คลิกที่นี่ : https://finearts.dpu.ac.th/

 มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโวฒ 
คณะศิลปกรรมศาสตร์


ขยายการศึกษาไปสู่ระดับบัณฑิตศึกษาจึงเริ่มขึ้นด้วยหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกศิลปศึกษา เปิดสอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย พร้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2528   และตามมาด้วยการเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกมนุษยดุริยางควิทยา ในปีพุทธศักราช 2535 ราวปีพุทธศักราช 2530 แนวคิดในการขยายบทบาททางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ไปสู่การเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ปรากฏชัดขึ้น หลังจากนั้นการเสนอโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์  จึงเริ่มขึ้นในปีถัดมา โดยคณะบุคคลที่ปรารถนาจะเห็นรสนิยมอันประณีตงดงาม และมีระบบแบบแผนทางด้านศิลปกรรมศาสตร์  พัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและสังคมไทย  ท้ายที่สุดโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ก็ได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 16  มิถุนายน 2536 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 28  มิถุนายน  2536

 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลายกระบัง 
คณะศิลปกรรมศาสตร์


จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพทางด้านศิลปะชั้นสูง โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ บัณฑิตเป็นคนดี มีความรู้ มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ผลิตผลงานสร้างสรรค์ งานวิจัย และนวัตกรรม ทางด้านศิลปะ การออกแบบ และวัฒนธรรม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ และเกิดประโยชน์แก่สังคม บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งพัฒนาสังคมและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัฒนาสร้างสรรค์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคเหนือและประเทศไทย บูรณาการความร่วมมือทางวิชาการ กับสถาบันทางศิลปะทั้งในและต่างประเทศ บริหารองค์กรบนหลักธรรมาภิบาล

 มหาวิทยาลัยศิลปากร 
คณะมัณฑนศิลป์


พัฒนาคณะมัณฑนศิลป์ ให้มีความเข้มแข็งในด้านวิชาการระดับนานาชาติ มีหลักสูตรการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา มีการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่สามารถผลิตบัณฑิตได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับคณะฯ และมหาวิทยาลัย

 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
คณะวิจิตรศิลป์


เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะ ฝีมือ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างผลงานประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคมตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนไปสู่การพัฒนาระดับสูงแบบมืออาชีพในขอบเขตของความเป็นศิลปะร่วมสมัย และสามารถบูรณาการหรือประยุกต์ใช้งานประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคมเข้าไปสู่ศาสตร์อื่นๆ ในการสร้างอาชีพที่หลากหลาย
 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด