หน้าแรก U-Recommend แนะนำคณะสาขา มหาวิทยาลัย สาขาแนะนำ 2022

U-Recommend แนะนำหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง ปี 2022

วันที่เวลาโพส 22 ธันวาคม 64 16:03 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

หากน้อง ๆ อยากเรียนวิศวกรรมศาตร์ แต่ไม่รู้จะเรียนด้านไหนที่ และเป็นที่ต้องการของตลาดงาน พี่มีสาขาแนะนำนั้นก็คือ  " วิศวกรรมระบบราง " สาขาที่เรียนด้านการออกแบบ ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง และการดำเนินงานทุกประเภทของระบบรถไฟ เป็นสาขาที่ตอบโจทย์คำถามของน้อง ๆ ได้ยังไงนั้น มาดูเหตุผลกัน

โดยหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง เป็นหลักสูตรที่ยังขาดแคลนมาก และในประเทศไทยมีสถาบันเปิดสอนอยู่ไม่กี่แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดงานและเด็กๆ ที่เห็นโอกาสก้าวหน้าของสายงานนี้นั่นเอง

จบมาทำงานอะไร ?
วิศวกรระบบรถไฟฟ้า
- ทำหน้าที่จัดการระบบในขบวนรถไฟ ซึ่งก็จะมีวิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า เข้ามาเกี่ยวข้อง    
วิศวกรรางรถไฟฟ้า 
- ทำหน้าที่วางโครงสร้างรางวิ่ง ทางโค้งของรถไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีวิศวกรรมโยธาเข้ามาเกี่ยวข้อง  
วิศวกรระบบสัญญาณรถไฟฟ้า 
- ทำหน้าที่วางระบบอาณัติสัญญาณที่ควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของรถไฟ ซึ่งก็จะมีวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง  

สาขาวิศวกรรมระบบราง
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม


หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- เรียนจริง! ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติด้านระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง
- ความปลอดภัยทางวิศวกรรมระบบราง ( Railway Engineering Safety )
- การจัดการการบำรุงรักษาสำหรับระบบราง ( Railway Maintenance Management )
- ระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณระบบราง ( Railway Signal and Control System )
- การตรวจจับความผิดพลาดทางราง ( Railway Fault Detection )
- นายสถานี ( Station Officer Operation )
- ผู้ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าในศูนย์ควบคุมการเดินรถ ( OCC Officer )
- เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า ( Train Operator: TO )


เหตุผลดีๆ ที่น่าเรียน
- ศึกษาดูงานจริง กับสถานประกอบการทางระบบรางระดับประเทศ
- สุดเจ๋ง! มีอาจารย์ตัวจริงด้านวิศวกรรมระบบรางมาส่งต่อความรู้
- มีทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร!
- หลักสูตรรองรับการสอบใบ กว. ( ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม )
- มีทุนแลกเปลี่ยนที่ประเทศจีน ระยะเวลา 1 ปีเต็ม เรียนที่ Hunan Vocational College of Railway Technology (HVCRT) สถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมด้านระบบรางขนาดใหญ่ในประเทศจีน


วิศวกรรมขนส่งทางราง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 


หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- ได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล 
- ได้เรียนเกี่ยวกับระบบขนส่งทางราง เบื้องต้น 
- มีผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้มาสอนโดยตรง 
- ได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากผู้ที่มีประสบการณ์

เหตุผลดีๆ ที่น่าเรียน
- เป็นหลักสูตรที่เปิดเป็นที่แรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พศ. 2556 
- ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมขนส่งทางรางออกไปแล้วสามรุ่น 
- สามารถทำงานในอุตสาหกรรมขนส่งทางรางอย่างกว้างขวาง 
- มั่นใจได้ว่าจะสามารถได้เรียนรู้เทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัยมายยิ่งขึ้น

วิศวกรรมการขนส่งระบบราง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- เนื้อหาจะมีการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน 
- ปูพื้นฐานด้านวิศวกรรมระบบราง รวมถึงการจัดอบรมและศึกษาดูงาน (Field Trip) ด้าน Track Refurbishment และงานด้านอื่น ๆ 
- ให้นักศึกษาได้เข้าใจการทำงานด้านการขนส่งระบบรางในประเทศมากขึ้น

เหตุผลดีๆ ที่น่าเรียน
- ช่วยสร้างบุคลากรที่มีความรู้ 
-  สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวแบบก้าวกระโดดของระบบขนส่งระบบรางของประเทศไทย
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 
- พัฒนาทักษะเพิ่มศักยภาพบุคลากรใหม่ที่จะเข้าทำงานในภาคการขนส่ง 

วิศวกรรมระบบราง 
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- เทคโนโลยีด้านรถไฟ รถไฟความเร็วสูง
- ระบบขับเคลื่อน การรับและจ่ายค่าไฟสำหรับรถไฟ
- การออกแบบ คำนวณและวิเคราะห์ระบบส่งกำลัง เช่น ล้อ แคร่รถไฟ
- การวางแผนงานซ่อมบำรุง ตรวจสอบชิ้นส่วนของรถไฟ ระบบส่งกำลัง
- ระบบอาณัติสัญญา เช่น รางรถไฟ หนอนรองราง ล้อรถไฟและแคร่รถไฟ

เหตุผลดีๆ ที่น่าเรียน
-ได้ความรู้เรื่องระบบราง
- ได้เรียนรู้การออกแบบ การวางแผน

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน


หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?
- ฝึกทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานจริง
- ได้ฝึกปฏิบัติในพื้นที่เสมือนจริงในการซ่อมบำรุงรักษาราง การเชื่อมรางด้วยวิธีเทอร์มิท
- ได้ฝึกฝนเรียนรู้ในสาขาวิชาชีพของตน
- ทักษะความรู้ทางทฤษฎีประกอบและขึ้นตอนการฝึก

เหตุผลดีๆ ที่น่าเรียน
- แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในหน้างานจริง
- เรียนรู้ตั้งแต่การตัดรางให้ได้ตามมาตรฐาน
- เมื่อจบแล้วสามารถออกไปปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานและเต็มศักยภาพความสามารถที่มี

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด