หน้าแรก เรียนสถาปัตย์ อาชีพในอนาคต

"สถาปนิก" การเรียน การทำงาน ทักษะ ความก้าวหน้า เป็นยังไง?

วันที่เวลาโพส 04 เมษายน 61 14:45 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
น้องๆ คนไหนที่สนใจและใฝ่ฝันประกอบอาชีพอาชีพ "สถาปนิก" กำลังหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจ อยากรู้ว่าการเรียน การทำงาน ทักษะ หรือความก้าวหน้าของอาชีพนี้เป็นยังไง? ตามมาอ่านบทความนี้ได้เลย เรารวมทุกข้อสงสัยพร้อมคำตอบมาให้น้องๆ ที่นี่แล้ว


เป้าหมายการทำงานของสถาปนิก
คือการออกแบบอาคารประเภทต่างๆ ให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประหยัด ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานสนองความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคาร


ทักษะ ความรู้ ความสามารถ 
สถาปนิก เป็นอีกอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก เพราะอาชีพนี้ไม่ได้แค่มีหน้าที่ออกแบบอาคารคุมงานก่อสร้างให้ได้ดังที่ลูกค้าต้องการ แต่สิ่งที่ออกแบบไปนั้นคือความรับผิดชอบของสถาปนิกทั้งหมด หากมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นในอนาคตคนที่จะโดนฟ้องคนแรกก็คือสถาปนิกนี่แหละ ดังนั้น นอกจากความคิดสร้างสรรค์ ทักษะพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ความรอบคอบ และความรับผิดชอบ ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก

ส่วนโปรแกรมที่สถาปนิกใช้ในการทำงานก็มีหลายโปรแกรม เช่น SketchUp, Photoshop,   Autocad หรือ archicad  เพราะจะมีความแม่นยำ สวยงาม และรวดเร็ว ต่างจากเมื่อก่อนที่จะเป็นงาน Munual งานวาดมือทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีโต๊ะ ดราฟ หรือ โต๊ะเขียนแบบเป็นโต๊ะประจำตัว แต่ถ้าเรามีเวลาจริงๆ อยากทำงานเป็นงานมือก็สามารถทำได้

 
ความรู้เพิ่มเติม 
สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา



ค่าตอบแทน 
สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนสถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนขั้นต้นอยู่ระหว่าง15,000 -20,000 บาทขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ในการฝึกงานขณะที่กำลังศึกษาอยู่ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้และสิทธิประโยชน์อื่นเช่นโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ 

นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ เป็นต้น โดยระดับรายได้ของสถาปนิกมักจะขึ้นอยู่กับระดับตำแหน่ง ตั้งแต่ ผู้ช่วยสถาปนิก (Architect Assistant), สถาปนิกผู้น้อย  (Junior Architect), สถาปนิก (Architect), สถาปนิกอาวุโส  (Senior Architect), ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ  (Design Director , Architect Director)


เส้นทางในอนาคต
อนาคตความก้าวหน้าของคนที่ประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญในงานเป็นสำคัญโดยมีหลักประกันอยู่ที่ฝีมือและผลงาน ผู้ที่ทำงานในภาครัฐจะได้รับการเลื่อนขั้นตามความสามารถถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยเองที่สังกัดอยู่ ในภาคเอกชน อาจได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้างหรือเป็นเจ้าของกิจการก็ได้



ข้อมูลจาก :
www.jobnorththailand.com
www.a-chieve.org

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด