หน้าแรก เรียนวิศวกรรมศาสตร์ คณะ/สาขา

"วิศวกรรมระบบราง" งานรุ่งรับระบบคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

วันที่เวลาโพส 02 สิงหาคม 61 12:12 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

"วิศวกรระบบราง" งานรุ่งรับระบบคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

"สาขาวิศวกรรมระบบราง" ถือเป็นอีกหนึ่งสาขาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เพราะนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดันการคมนาคมขนส่งทางรางมาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ระบบรถไฟธรรมดา รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง 

ซึ่งจากการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่า ภายในปี 2563 ประเทศไทยจะมีความต้องการกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบรางสูงถึง 31,000 คน เป็นวิศวกร 6 พันคน ช่างเทคนิค 1.2 หมื่นคน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานี 1.3 หมื่นคน แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังขาดแคลนวิศวกรรมระบบรางและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงในระดับประเทศอาเซียนก็เช่นกัน 


จากการขาดแคลนดังกล่าว ทำให้ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาต่างหันมาให้ความสำคัญ เปิดสอนหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดงานและผู้เรียนที่เห็นโอกาสก้าวหน้าของสายงานนี้ โดยมีสถาบันที่เปิดสอนสาขาทางด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง ในระดับปริญญาตรี เช่น 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น
 


ตำแหน่งงานและอาชีพที่เกี่ยวข้อง
ตำแหน่งงานของผู้ที่เรียนจบทางด้านวิศวกรรมระบบราง สามารถทำได้ทั้งเฉพาะและที่เกี่ยวข้อง อาทิ
- วิศวกรระบบราง 
- วิศวกรช่างซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง 
- วิศวกรซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ
- วิศวกรที่ปรึกษา ออกแบบ วิเคราะห์ระบบ และแก้ปัญหาในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง
- ผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือเป็นผู้ปฏิบัติงาน
และอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งโลจิสติกส์ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ วิศวกรประจำคลังสินค้า วิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรควบคุม วิศวกรการจัดการ วิศวกรวางแผนและวิเคราะห์ เป็นต้น

 

ตัวอย่างสถานประกอบการที่สามารถทำงานได้
หน่วยงานภาครัฐ เช่น บริษัทกรุงเทพธนาคม กระทรวงคมนาคม(กรมราง)  
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT) บริษัทรถไฟฟ้า รฟท จำกัด และอื่นๆ
หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทรถไฟฟ้า จำกัด (BTS) และ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) กลุ่มบริษัทค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ บริษัทขนส่งและกระจายสินค้า รวมทั้งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ กลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโดมิเนียม และอพาร์ตเมนท์ กลุ่มบริษัทผู้ผลิต และจัดจำหน่าย รถไฟและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟและระบบราง ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น 


ที่มา :
www.pr.kmutt.ac.th
www.komchadluek.net 
KMITL Channel Plus
www.thaipbs.or.th 

project4fun.blogspot.com 

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด