หน้าแรก IT ข่าว/บทความไอที

5 บทเรียนราคาแพงจากผู้ประสบความสำเร็จสตาร์ทอัพ

วันที่เวลาโพส 19 มกราคม 60 15:53 น.
อ่านแล้ว 0
ทีมงาน AdmissionPremium
UploadImage
 
            พูดถึงสตาร์ทอัพในเมืองไทย คงไม่มีใครไม่รู้จัก คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ CEO แห่ง Ookbee และยังเป็นผู้บริหารกองทุนสตาร์ทอัพเมืองไทยอย่าง 500 TukTuk

500 TukTukก็คือ กองทุนที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนเงินทุนให้เหล่าสตาร์ทอัพโดยที่ 500 tuktuk จะเข้าไปเป็นหุ้นส่วนและเป็นผู้ช่วยให้สตาร์ทอัพนั้นประสบความสำเร็จ ทั้งนี้นอกจากช่วยเสริมในด้านเงินทุนแล้ว โครงการยังช่วยส่งเสริมในด้านความรู้ และเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจอีกด้วย ทำให้สตาร์ทอัพลงทุนได้ไม่ต้องเสี่ยง และไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

500 TukTuks จะมาลงทุนในสตาร์ตอัพในเมืองไทยระดับ seed stage (รับเงินลงทุนก้อนแรก) หรือก่อน series A โดยมีโจทย์ว่าจะลงทุนให้ได้ 50 บริษัทภายใน 3 ปีข้างหน้า ตอนนี้ลงทุนไปแล้วประมาณ 10 บริษัท ก็เหลืออีก 40 ราย

ผู้เข้าร่วมกองทุนจะได้รับเงินประมาณ 3 ล้านบาท แต่นอกจากเงินแล้ว 500 TukTuks ยังเป็นแพลตฟอร์มสำหรับผลักดันสตาร์ตอัพในแง่ความรู้และคอนเนคชั่นด้วย เพราะทีมที่มาทำอยู่ในสังกัดของ 500 Startups ซึ่งเป็น 1 ใน 3 กองทุนชื่อดังของสหรัฐที่ลงเงินในบริษัทขั้น early-stage ถือเป็นการยกกองทุนจากซิลิคอนวัลเลย์มาเมืองไทยเป็นครั้งแรก
 
Ookbee ได้ให้บริการมา 5 ปีแล้ว เจาะตลาดในเอเชียจนประสบความสำเร็จ เรามาดู 5 บทเรียนราคาแพงจากผู้ประสบความสำเร็จสตาร์ทอัพ ส่งตรงจาก “หมู Ookbee” กัน

1. งานของ Founder “Mission” สำคัญที่สุด

จะแก้ไขปัญหาอะไร จะทำอะไร คุณหมูเล่าให้ฟังว่า Ookbee เกิดจากวิสัยทัศน์แค่อยากทำและขาย E-Book แต่ปัจจุบัน E-Book เป็นสัดส่วนการลงทุนของ ว่า Ookbee ไม่ถึงร้อยละ 20

“เราเรียนรู้ว่าตลาด ebook มันไปต่อไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจครั้งแล้วครั้งเล่าในเวลาปีกว่าๆ แต่ตัวตัดสินใจ next move ตัดสินใจ คือ mission ของเรา” และคุณหมูเชื่อว่าในโลกของ Digital Publishing ตัวกลางจะค่อยๆหายไป และจะมีแค่ Artist, Distribution จบลงที่ User
และนี่คือ Mission ของ Ookbee ในปัจจุบันฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะทำอะไรแปลกๆ ถึงแม้ไม่มีใครทำกัน เพราะโอกาสที่เราทำสำเร็จก็น้อยอยู่แล้ว แต่เรายังไม่ได้ลองทำเลย
 
2. เป็น All around expert

สตาร์ทอัพเริ่มใหม่จะเล็กมาก ฉะนั้นเราต้องเป็นทั้งเรื่องเทคโนโลยี กฎหมาย งานขาย และต่อให้คุณมีลูกน้อง คุณก็ต้องตัดสินใจ

“ง่ายสุดคือไม่ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ดีกว่าไม่ตัดสินใจ ฉะนั้นแรกๆคือ เป็น All around expert อย่างละนิดหน่อย อย่ากลัวที่จะตัดสินใจ” คุณหมูกล่าว “เราต้องรู้เวลาที่ต้องสเกลและเปลี่ยนบทบาท ในจุดที่คุณต้องจ้างคนอื่น ถ้าคุณทำงานเดิมๆอย่างเดียว สตาร์ทอัพก็จะสเกลต่อไปไม่ได้”

3. จ้างคนที่ฉลาดกว่า ดีกว่าเรา เร็วกว่า และถูกกว่าเรา

และมีแผนสำรองหาก พนักกงานลาออกหรือ co-founder ลาออก แม้เราต้องจ้างคนจำกัดต้อง lean แต่สุดท้ายเราต้องดูว่าความเสี่ยงของเราคืออะไร ถ้าคนๆนี้ไม่อยู่อะไรจะเกิดขึ้น ต้องมีแผนสำรองไม่ใช่ฝากอนาคตของบริษัทกับคนไม่กี่คน
 
 
4. มองทุกอย่างเป็นการทดลอง

เพราะจริงๆแล้วไม่ว่าจะเป็นโลโก้ สินค้า แม้แต่ตัวธุรกิจเอง ต้องมองให้มันเป็นการทดลองให้หมดเลย เริ่มจากการทดลองเล็กแล้วค่อยๆใหญ่ขึ้นตามสูตร “สร้าง วัดค่า เรียนรู้” (Build Measure Learn) เพราะการทำสตาร์ทอัพไม่มีอะไรตายตัวและสมบูรณ์แบบ ต้องทดลองว่ามีคนใช้สินค้าของเราหรือเปล่า ได้ผลหรือไม่ คนจะบอกเราเองว่าสินค้าของเรามีประโยชน์อย่างไร

เราสามารถลองทำไอเดียเล็กๆบน Facebook Page แล้วจัดการหลังร้านเหมือน SMEs ดูว่าสินค้ากับความต้องการของตลาดไปด้วยกันได้หรือไม่
“เวลาทีมสตาร์ทอัพแข่งขันกันนำเสนอสตาร์ทอัพของตัวเองต่อหน้ากรรมการ แต่กรรมการรู้จักสินค้าของคุณจริงหรือเปล่า” คุณจะพูดอะไรก็ได้เพราะกรรมการไม่รู้จักสินค้าของคุณจริง คุณก็แค่ใส่ข้อมูลนำเสนอลงสไลต์ กรรมการก็ให้คะแนนสตาร์ทอัพที่ชนะรางวัล แต่จริงๆคุณไม่ต้องไปใส่ใจกรรมการพวกนั้นเลย” คุณหมูกล่าว “คนที่ต้องขอบคุณคือคนที่มาโหลดแอปคุณ เขาไม่ชอบแล้วเสียเวลากลับมาด่าแอปของคุณเสียๆหายๆ แต่อย่างน้อยเขาก็โหลดแอปฯของคุณ ความเห็นพวกนี้ดีกว่ารางวัลอีก”

5. โฟกัสไปที่ตลาดนิช และรู้เวลาที่คุณต้อง “เอาจริง”

รู้ว่าตลาดนิช (Niche) ของเราคืออะไร เราต้องใช้เงินและให้กำลังใจพนักงาน ต้องหานักลงทุนและลูกค้า ออกไปหาเงินให้สตาร์ทอัพของเราสเกลต่อไป
“คุณสามารถหยุดโตเป็น smes สวยๆมีกำไรก็ได้ แต่อีก 2-3 ปีก็จะมีคนมาทำสตาร์ทอัพแข่ง ฉะนั้นคุณต้องหาเงินจากนักลงทุนหรือควักเนื้อตัวเอง ไม่ใช่แค่เอากำไรทบไปเรื่อยๆ มันเหมือนมีระเบิดเวลากับเราตลอด เพราะเราต้องรู้ว่าเงินของเราจะหมด” คุณหมูกล่าว

คุณหมูยังทิ้งท้ายด้วยว่า เราต้องเปิดรับคำวิจารณ์ ไม่ต้องสนใจใคร เพราะผลงานจะบอกเอง เราต้องฟังแล้วคิดตามว่าที่เขาพูดน่ะจริงหรือไม่ แล้วเราควรปรับอะไรบ้าง ที่สำคัญเราต้องรู้จัก “Say No” บ้าง  เพราะเราไม่สามารถทำทุกอย่างได้พร้อมกันในเวลาที่มีจำกัด


 

 
ที่มา
[1] https://www.marketingoops.com/news/tech-update/startups/5-expensive-startups-lessons-by-moo-ookbee/
[2] http://www.telecomjournalthailand.com/500tuktuk/
[3] http://www.posttoday.com/digital/346228

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด