หน้าแรก IT รุ่นพี่ไอที

"เด็กติดเกม" ปัญหาสังคมหรือคนมีวิสัยทัศน์

วันที่เวลาโพส 23 กุมภาพันธ์ 60 15:32 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
UploadImage

คำว่า “เด็กติดเกม” ถูกให้ความหมายเชิงลบมาตลาดระยะเวลายาวนานในประเทศไทย “เกม” จึงถูกมองเป็นเสมือนตัวร้ายในละครหลังข่าว หรือสายลับรัสเซียในหนังฮอลลีวูดอยู่ตลอดเวลา น่าจะถึงเวลาแล้วล่ะที่เราจะหันมามองอีกด้านของเกม ที่คอยสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคน เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ตลอดจนเป็นแรกผลักดันสู่ความสำเร็จในถานะวิศวกรคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาซอฟแวร์ หรือโปรแกรมเมอร์ เพราะเกมไม่ใช่ตัวร้ายในนิทานหลอกเด็กอีกแล้ว

 
“การติดเกมก็เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีส่วนให้ผมมีทุกวันนี้ได้”
คุณ วิทวัส กาญจนฉัตร Software Engineer คนไทยใน Facebook
 

คุณ วิทวัส กาญจนฉัต รปริญญาตรีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้าน Information Technology ที่ Carnegie Mellon University (CMU) ปัจจุบันทำงานเป็น Software Engineer ให้กับ Facebook เขาเคยพูดถึงแง่มุมที่ต่างออกไปของเกม ที่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และแหล่งเรียนรู้ให้เขาประสบความสำเร็จไว้ใน Blognone และยกให้เกมเป็นตัวช่วยสร้างทักษะที่สำคัญสำหรับเส้นทางสายโปรแกรมเมอร์ให้กับเขา เป็นตัวกระตุ้นความอยากสร้างสิ่งของด้วยตนเอง และเป็นเครืองมือในการเรียนภาษาด้วย
 
UploadImage

ความอยากสร้างสิ่งของด้วยตัวเอง
 
คุณ วิทวัสมีโอกาสให้ผมหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่สมัยเด็ก โดยเริ่มจาก MS QBasic ที่แถมมาในเครื่อง โดยศึกษาคำสั่งเขียนโปรแกรมจาก Help files หลังจากนั้นก็หัดเขียนเว็บ HTML แบบง่ายๆ โดยการอ่านหนังสือในห้องสมุด
 
แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้เขียนสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น คือการรู้จักตู้เกม Ez2Dj เพราะเขาชอบไปเล่นเกมกับเพื่อนๆ ที่มาบุญครอง นอกจากสนุกกับเกมแล้ว ยังได้สังคมใหม่ๆ นอกโรงเรียนด้วย ในตอนนั้นเองที่เขาได้รู้จักเพื่อนจากเว็บ Jammania ที่มีแต่เด็กติดเกม แล้วก็ได้ไปออกงานเปิดตัว O2Jam ในเมืองไทยอีกด้วย
 
“ตอนนั้นรู้สึกว่าโคตรว้าวจากกราฟฟิกของ Ez2Dj มันล้ำสมัยสุดๆ พร้อมทั้งเกมเพลย์อันสุดคูล เลยเป็นแรงบันดาลใจให้อยากสร้าง “เวอร์ชั่นของตัวเอง” ขึ้นมา (สร้างของก๊อปนั่นเอง)”
 
“หลังจากเขียนเกมนี้จนเล่นได้และเริ่มขี้เกียจทำต่อแล้ว (พอใจแล้ว) ทำให้ผมเรียนรู้ว่า หนึ่งในการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการ “สร้างของก๊อปปี้” เพราะมันเป็นการกำหนดเป้าหมายของเราที่ชัดเจนที่สุด และทำให้เรารู้ว่าเราจะประสบความสำเร็จและภาคภูมิใจกับมันได้เมื่อไหร่ นอกจากนั้น สิ่งที่เราก๊อปปี้ควรเป็นสิ่งที่เรารักที่จะคลุกคลีกับมันทุกวัน นั่นก็คือเกมนั่นเอง (หลักการก๊อปปี้ ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้การเรียนภาษาประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน)”
 


เรียนภาษาอังกฤษ
 
ตอนเด็กๆ นอกจากเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนแล้ว การเล่นเกมก็เป็นการนำภาษาไปใช้ในชีวิตจริง ตอนนั้นเขาติดเกมผจญภัยเก็บคำศัพท์เพื่อผ่านด่าน (เช่น Super Solvers Treasure Mountain) ทำให้เราได้ใช้ภาษาอังกฤษโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภาระเลย (ใครมีลูกโตพอแล้วควรให้หัดเล่นเกมประเภทนี้)
 
แต่เกมที่คิดว่าพัฒนาภาษาอังกฤษให้เขาได้มากที่สุดคือเกม Diablo II เกมนี้เป็นเกมที่มีเสียงพูดในทุกบทสนทนา ทำให้ได้ฝึกฟังไปในตัวด้วยนั้นเอง

UploadImage
“ผมรู้สึกว่าตอนนี้ความหวังของประเทศเราคงต้องพึ่งผู้ใหญ่ใจดีมีวิสัยทัศน์ไกลและพวกเราชาวเกมเมอร์ครับ”


อย่างน้อยก็เป็นที่น่าดีใจที่เกมกลายเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับกันมากขึ้น เราเริ่มเห็นผู้ใหญ่ Gen-X และ Gen-Y หลายคนหันมาสนับสนุนทั้งแรงกาย แรงใจ และเงินสนับสนุน ทั้งเด็กไทยก็สามารถคว้าแชมป์การแข่งขัน E-sports ระดับโลกสำเร็จ ปูทางสู่อนาคตที่เด็ก Gen ใหม่จะได้เรียนรู้ และเกิดแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับพวกเขาในยุคที่ทุกส่วนของโลกต่างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ขอเพียงสามารถแบ่งเวลาได้อย่างเหมาะสม และได้รับการสนับสนุนอย่างถูกทาง






ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : Blognone

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด