หน้าแรก เรียนนวัตกรรม ข่าว/บทความ

แบตเตอรี่ฝีมือนักศึกษาไทย ผลงานรุ่นพี่ลาดกระบัง

วันที่เวลาโพส 20 มีนาคม 66 10:47 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

แบตเตอรี่กราฟีน อนาคตของวงการรถไฟฟ้าที่จะช่วยให้การชาร์ตเป็นเรื่องง่าย ๆ แบตเตอรี่กราฟีน จึงถูกพัฒนาออกมาลบจุดอ่อนของรถไฟฟ้า เติมเต็มการใช้งานและเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า
เป็นที่แน่นอนว่าแบตเตอรี่กราฟีนนี้จะมาแทนที่แบตเตอรี่แบบเดิมที่หมดไว วิ่งได้ระยะสั้นและยังชาร์จนานอีกด้วย



เป็นนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่เกิดจากการใช้วัสดุ “กราฟีน” ที่ผลิตได้ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากโรงงานต้นแบบผลิตกราฟีน นำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตแบตเตอรี่กราฟีน
โดยนำวัสดุกราฟีนประดิษฐ์ขั้วไฟฟ้า ใช้รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ร่วมกับคาร์บอนจากธรรมชาติ เช่นคาร์บอนทั่วไป จากถ่านเปลือกทุเรียน ถ่านกัญชง ถ่านกัญชา และถ่านหินลิกไนต์ เพื่อทำให้เกิดกลไกการกักเก็บพลังงาน
ในทางฟิสิกส์ และใช้การประดิษฐ์ขั้วไฟฟ้าอีกขั้วจากแผ่นบางสังกะสี อะลูมิเนียม หรือแผ่นทองแดงบาง




มีจุดเด่นคือแบตเตอรี่กราฟีนใช้สารอิเล็กโทรไลต์จากวัสดุ “รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ควอนตัมดอต” ผสมกับสารอิเล็กโทรไลต์ทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ให้กักเก็บประจุไฟฟ้าให้มากขึ้น
และมีอัตราการอัดประจุได้เร็วขึ้น ส่วนตัวแยกขั้วไฟฟ้า สามารถใช้ได้กับแบบทั่วไปและยังได้พัฒนาวัสดุขึ้นใหม่ขึ้นมาทดแทนด้วยการประดิษฐ์วัสดุคอมโพสิตยางพาราและนาโนกราฟีนออกไซด์
เพื่อป้องกันการคายประจุจากไฟฟ้าสถิต เป็นตัวดูดซับสารอิเล็กโทรไลต์ ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูง ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออนได้ดีเพิ่มขึ้น จากการเกิดรูพรุนที่เหมาะสมเพื่อให้ไอออนไหลผ่านได้ง่าย
และกราฟีนออกไซด์นั้นมีความเป็นฉนวนไฟฟ้าและความร้อนสูง ส่งผลให้ยางพารามีประสิทธิภาพในการเป็นตัวแยกขั้วไฟฟ้าที่ดี ไม่มีความร้อนสะสมภายใน 




สำหรับต้นแบบ “แบตเตอรี่กราฟีน” ดังกล่าวนั้น ในช่วงต้นการพัฒนาจะยังมีค่าช่วงความต่างศักย์ที่ระดับ 1.0-1.6 V มีรอบการใช้งานที่กว่า 1000 รอบ สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 50 องศาเซียลเซียส
โดยไม่มีการระเบิดหรือเกิดไฟไหม้ จึงไม่เป็นอันตรายต่อการใช้งาน ซึ่งต้นแบบแบตเตอรี่ดังกล่าวจะมีราคาถูก มีปลอดภัย ใช้วัสดุภายในประเทศ ลดการนำเข้า ที่มีประสิทธิการใช้งานที่อยู่ระหว่าง แบตเตอรี่ตะกั่วกรด
และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน แต่ราคาถูกกว่ามาก 


KMITL Innovation Expo
งานจัดแสดงนวัตกรรม และผลงานวิจัยกว่า 1,000 ชิ้น จากแต่ละภาคส่วนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ 27-29 เมษายน 2566 นี้
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่นี่

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด